วันอังคารที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2552

การบูชาพระประจำวันเกิดและความหมาย






























พระประจําวันชี้เส้นทางพัฒนาจิต

เหตุที่เกิดพระประจําวัน เพราะว่าชีวิตทุกชีวิตย่อมมีวันเกิด การเกิดต้องรู้จักว่า เกิดมาทําไม อยู่เพื่ออะไร ตายแล้วจะไปไหน พระประวัน คือการศึกษาชีวิตที่แท้จริงของมนุษย์ ซึ่งเกิดมาไม่รู้จักวันเกิดของตัวเองว่าเกิดมาเพื่ออะไร
พระพุทธรูปปางวันอาทิตย์ (ปางถวายเนตร)
นิรภัยทุกทิศ : ห้ามกาม ห้ามกาย ห้ามเกิด
ถ้าต้องการห้ามได้ต้องไปศึกษาพระประจําวันจันทร์
๑ วันอาทิตย์ (ธาตุไฟ) มนุษย์เราเกิดจากกามเป็นปางถวายเนตร คือให้มีดวงตาเห็นธรรมเห็นว่า มนุษย์ทุกชีวิตเกิดจากกาม โดยพุทธลักษณะท่านจึงประทับยืนและทํามือประสานไว้เบื้องหน้า เพื่อปิดทวารแห่งการเกิดของชีวิต เพราะทุกชีวิตเกิดจากทวารแห่งการเกิดกาย และไม่เกิดชีวิต ผู้เห็นแจ้งโลกย่อมเห็นภัยในการเกิดเป็นทุกข์ แก่เป็นทุกข์ เจ็บเป็นทุกข์ และตายเป็นทุกข์
ที่มา : เมื่อพระพุทธเจ้า ทรงตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้ว พระองค์ทรงประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ที่ร่มมหาโพธิ์ ๗ วัน หลังจากนั้นพระองค์ทรงเสด็จออกจากร่มไม้มหาโพธิ์ ไปประทับยืนกลางแจ้งทางทิศเหนือของต้นมหาโพธิ์ ทรงทอดพระเนตรต้นโพธิ์โดยไม่กระพริบพระเนตร ด้วยอิริยาบถดังกล่าวถึง ๗ วัน สถานที่เสด็จประทับยืนด้วยออริยาบถนั้น นับเป็นนิมิตรมหามงคล เรียกว่า "อนิมิสสเจดีย์" พระพุทธจริยาที่ทรงจ้องพระเนตรดูไม้มหาโพธิ์ โดยมิได้กะพริบพระเนตรถึง ๗ วันนั่นเป็นที่มาแห่งตํานานการสร้างพระพุทธรูปปางนี้ เรียกว่า "ปางถวายเนตร"
พระพุทธรูปปางวันจันทร์ (ปางห้ามสมุทร) หรือ (ปางห้ามญาติ)
ห้ามใจ (กุศล อกุศล) ถ้าต้องการห้ามได้ต้องไปศึกษาพระประจําวันอังคาร
๒ วันจันทร์ (ธาตุดิน) ปางห้ามสมุทร สมุทร คือทะเล เป็นที่เกิดแห่งชีวิตเรา เรียกว่า ทะเลทุกข์ คือการเวียนว่ายตายเกิดของจิตใจ ไม่มีจิตในโลกนี้ก็ไม่มีชีวิต ไม่มีชีวิตในโลกนี้ก็ไม่มีทะเลทุกข์ การห้ามสมุทร คือการห้ามที่ยิ่งใหญ่ การห้ามญาติยังห่างไกล ที่ใกล้ตัวต้องห้ามตัวเราเองได้ การห้ามตัวเราเอง คือการห้ามที่ยิ่งใหญ่กว่ามหาสมุทร จันทร์ คือใจ ใจของเราเองมีสุข มีทุกข์ ห้ามสมุทร คือห้ามใจ ห้ามทั้งสุขและทุกข์ในตัวเรา จึงจะพันธนาการทั้งหลาย
ที่มา : ครั้งหนึ่งได้เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ขึ้นในเมืองไพศาลี มีประชาชนล้มตายเป็นจํานวนมาก กษัตริยลิจฉวีเจ้า ผู้ครองเมืองจึงได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้เสด็จมาโปรดชาวเมืองพระพุทธองค์ทรงรับสั่งให้พระอานนท์เจริญรัตนสูตร และประพรมนําพระพุทธมนต์รอบพระนครจนต่อมาภายหลังโรคร้ายก็หายสิ้นไปจากพระนครด้วยพุทธานุภาพ จึงเรียกว่า "ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามพยาธิ"

พระพุทธรูปปางวันอังคาร (ปางนิพพาน หรือปางไสยาสน์)
วางกาย วางใจ คืนสู่โลก
๓ วันอังคาร (ธาตุลม) ปางไสยาสน์ (นิพพาน) ว่างจากเครื่องร้อยรัด อังคาร คือชีวิต คือการต่อสู้ มนุษย์เกิดมาเพื่อต่อสู้กับความทุกข์ ต่อสู้กับการเป็นอยู่อาหารการกิน ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค เครื่องนุ่งห่ม เป้าหมายจุดสุดท้ายของมนุษย์ คือพ้นจากเครื่องร้อยรัด คือกายและใจ(ตาย)ก็พ้นแล้ว แต่เราจะทําอย่างไร? ต้องศึกษากายและใจ เพื่อให้พ้นการยึดมั่นถือมั่นตั้งแต่ยังมีลมหายใจอยู่ ก็ต้องคิดถึงความตาย ทุกลมหายใจเข้าออก เพื่อมิให้หลงโลก หลงธรรมหลงกาย หลงใจ และหลงชีวิต
ที่มา : สมัยหนึ่ง เมื่อพระพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ วัดเชตวัน ในกรุงสาวัตถี ครั้งนั้นอสุรินทราหูจอมอสูร ซึ่งสําคัญว่ามีร่างโตใหญ่กว่าพระพุทธเจ้า จึงไม่ยอมแสดงความอ่อนน้อม พระพุทธเจ้าทรงหวังจะลดทิฐิจอมอสูร จึงทรงเนรมิตกายให้โตกว่าจอมอสูรในท่าประทับนอนและแสดงธรรมโปรด จนในที่สุดจอมอสูรจึงละทิฐิยอมอ่อนน้อมต่อพระพุทธองค์ จึงเรียกว่า "ปางนิพพาน" หรือ"ปางไสยาสน์" หรือ"ปางโปรดอสุรินทราหู"
พระพุทธรูปปางวันพุธ (กลางวัน)(ปางอุ้มบาตร)
เป็นผู้ช่วยเหลือโลก สอนให้เป็นผู้รู้จักเสียสละ คือผู้รู้ ผู้ช่วยผู้อื่น (ช่วยโลก)
๔ วันพุธ (กลางวัน)(ธาตุน้ำ) ปางอุ้มบาตร พุทธะ คือจิตผู้รู้แจ้งโลกต้องโปรดสัตว์ ช่วยเหลือผู้อื่น อุ้มบาตร คืออุ้มโลก ช่วยโลก คือการเสียสละเผื่อแผ่ช่วยเหลือผู้อื่น วันพุธ ธาตุนํา ธรรมชาติของนําต้องไหลไปทางตํา เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นที่ยังตํากว่า ถ้าได้รับแสงสว่าง คือความร้อนก็ขึ้นที่สูงได้เป็น พุธกลางวันจึงเป็นผู้รู้
ที่มา : ครั้งหนึ่ง หลักจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมโปรดพระพุทธบิดา และหมู่พระญาติทั้งหลาย บรรดาพระประยูรญาติต่างมีความแช่มชื่นโสมนัสจนลืมกราบทูลอาราธนาพระพุทธองค์ให้มารับภัตตาหารเช้าในพระราชวัง ดังนั้นในวันรุ่งขึ้น พระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงเสด็จออกรับบิณฑบาตรจากประชาชนทั่วไปในกรุงกบิลพัสด์ นับเป็นครั้งแรกที่ชาวกรุงกบิลพัสด์ได้เฝ้าชมพระบรมศาสดาทรงอุ้มบาตร เสด็จพระพุทธลีลาโปรดสัตว์ เพิ่มพูนความปิติยินดียิ่งจึงเรียกว่า "ปางอุ้มบาตร"

พระพุทธรูปวันพุธ (กลางคืน)(ปางป่าเลไลยก์)
จิตคือพระพุทธ สอนกายคือ(ช้าง) สอนใจคือ(ลิง)
๔.๑ วันพุธ (กลางคืน)(ธาตุลม) คือผู้รู้ที่มีทิฐิมานะไม่เชื่อฟัง เพราะมีความมืดอวิชชาเป็นเครื่องกําบังติดอัตตาตัวตน สอนผู้อื่นไม่ได้ จึงต้องเข้าป่าไปสอนตัวเองดีกว่าเพราะตัวเองมีใจเป็นบริวาร คือลิง เป็นผู้รับใช้มี ช้างเป็นพาหนะไว้ขี่คอยรับใช้ มีจิตเป็นพุทธะคอยสั่งสอน ช้าง+ลิง ยังสอนได้ฝึกได้ถ้าหากฝึกคนไม่ได้เข้าป่าดีกว่า เมื่อสอนตนเองได้แล้ว จึงค่อยสอนผู้อื่นต่อไป
ที่มา : ในสมัยพุทธกาล เมืองโกสัมพี มีพระภิกษุ ๒ รูปคือ พระวินัยธร และพระธรรมธร (หรือพระธรรมกถึก) แต่ละรูปมีพระภิกษุเป็นบริวารรูปละ ๕๐๐ องค์ได้อาศัยอยู่วัดโฆสิตาราม เมืองโกสัมพี เกิดทะเลาะวิวาทกันด้วยเรื่องเล็กๆน้อยๆ พระพุทธเจ้าทรงทราบ และตรัสห้ามถึง ๓ ครั้ง แต่ทั้ง ๒ ฝ่ายไม่ปฏิบัติตามพระพุทธเจ้าจังเสด็จหนีออกไปจําพรรษาที่ป่ารักชิตวัน ซึ่งมีพญาช้างชื่อ "ป่าลิไลยกะ" และพญาลิง ถวายปรนนิบัติด้วย อาหาร ผลไม้ และป้องกันอันตรายต่างๆมิให้มายํากรายต่อพระพุทธเจ้า เมื่อปวารณาออกพรรษาแล้วพระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้มากราบทูลเชิญเสด็จไปเมืองโกสัมพี จึงเรียกว่า "ปางป่าเลไลยก์"
พระพุทธรูปวันพฤหัสบดี (ปางสมาธิ)
คือจิตที่สงบนิ่ง จึงจะสามารถรู้ความเป็นจริงของชีวิต สามารถ พูด หรือสั่งสอน จากความรู้จริง
๕ วันพฤหัส (ธาตุดิน) คือผู้รู้เป็นครู เพื่อฝึกหัดผู้อื่น การเป็นครูต้องเป็นผู้รู้จริง ต้องสอนจากประสบการณ์จริง ต้องพูดจากตัวรู้ มิใช่ตัวจําได้ อ่านได้ เรียนได้หรือสอนได้ ปางสมาธิ คือหยุดจากความวุ่นวาย มนุษย์หยุดนิ่งไซร้ความจริงย่อมเกิดถ้าท่านยังไม่หยุดท่านยังไม่มีโอกาสได้พบความจริง เป็นปางตรัสรู้ คือพูดจากตัวรู้จึงจะถูกต้อง ตัวรู้ คือจิต ตัวถูกรู้ คือใจเรา เรียกว่าความจํา
ที่มา : ภายหลังจากที่ประพุทธเจ้าได้กําราบพระยามารลงได้แล้ว พระองค์จึงได้ตั้งพระทัยเจริญสมาธิ จนได้บรรลุญาณขั้นต่างๆ และในที่สุดก็ได้บรรลุอนุตรสัมโพธิญาณตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเวลาเช้าตรู่ของวันเพ็ญขึ้น ๑๕ คําเดือน ๖ (วันวิสาขบูชา) จึงเรียกว่า "ปางสมาธิ"
พระพุทธรูปวันศุกร์ (ปางรําพึง)
คือจุดยืนของมนุษย์ อยู่เพียงความพอกาย และพอใจทั้งสิ้น
๖ วันศุกร์ (ธาตุน้ำ) ปางรําพึง เอามือทาบหน้าอกทั้งสองข้าง คือมือขวามาทาบหน้าอกซ้ายแล้วรําพึงว่า การกระทําทุกอย่างที่เป็นสุขล้วนแล้วแต่เกิดจากใจทั้งสิ้นมือซ้ายมาทาบที่หน้าอกข้างขวา คือใจที่อยู่กับกาย ถ้ารู้จักพอกายก็เป็นสุขทั้งสิ้น นี่คือจุดยืนของมนุษย์
ที่มา : ภายหลังจากที่ตรัสรู้ได้ไม่นานพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งประทับอยู่ใต้ต้นไทร ก็ได้ทรงรําพึงถึงพระธรรมที่พระองค์ตรัสรู้นั้นว่า เป็นธรรมที่ละเอียดลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจจึงรู้สึกอ่อนพระทัยในการที่จะนําออกแสดงโปรดสัตว์ แต่เพราะพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ซึ่งได้พิจารณาเห็นว่าสรรพสัตว์มีภูมิต่างกันจึงทรงพระดําริที่จะแสดงธรรมตามภูมิชั้นแห่งปัญญาสรรพสัตว์นั้นๆ จึงเรียกว่า "ปางรําพึง"

พระพุทธรูปวันเสาร์ (ปางนาคปรก)
คือจุดสุดท้ายของมนุษย์ต้องมีความเห็นที่ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ) มีองค์ ๗ หมายถึง นาค ๗ เศียร(ปัญญา) ที่รักษาจิต คือ(พระพุทธ) ทุกชีวิตต้องมี
๗ วันเสาร์ (ธาตุไฟ) ปางนาคปรก ปางเมื่อพระองค์ทรงบําเพ็ญแล้วเกิดพญามารมารบกวน เนรมิตให้ฝนตก นําท่วม จึงมีพญานาค ๗ เศียร มาปกปักรักษาเป็นเครื่องหมายว่า เมื่อจิตคือ พระพุทธ คิดที่จะบําเพ็ญแล้วต้องอาศัย ปัญญาสัมมาทิฐิซึ่งมีองค์ ๗ แสงสว่างแห่งจิต คือใจ ที่เกิดปัญญาแล้ว จึงจะรักษาจิตให้พ้นจากกิเลส ตัณหา พญามารทั้งหลายได้
ที่มา : ครั้งเมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ประทับเสวยวิมุติสุขอยู่ใต้ต้นจิก (มุจจรินทร์) บังเอิญในช่วงนั้นมีฝนตกหนักตลอด ๗ วัน พระยานาคมุจจรินทร์ ได้เลื้อยมาทําขนดล้อมพระวรกายของพระพุทธองค์ ๗ ชั้น แล้วแผ่พังพาบปกไว้ในเบื้องบนเหมือนกั้นฉัตร ด้วยประสงค์จะกําบังลมฝนมิให้ต้องพระวรกาย จึงเรียกว่า "ปางนาคปรก"
ที่มา:http://www.buddhadham.8m.com/dham04.htm
ภาพพระปางต่าง ๆ จาก www/watthapra.com