วันอาทิตย์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การบ้านนักศึกษาสังคมศึกษาปีที่ ๒

ให้นักศึกษาสังคมศึกษาปีที่ ๒ จงเปรียบเทียบจริยศาสตร์ตะวันตกกับตะวันออกว่ามีความเหมือน ความคล้ายกัน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง อธิบาย
(ให้ส่งภายในวันที่ ๒ ธ.ค. ๒๕๕๓ เวลา ๒๔.๐๐ น. ส่งเกินกำหนดเวลาคะแนนเป็นศูนย์)
ลอกของเพื่อนส่งคะแนนเป็นศูนย์เหมือนกัน

47 ความคิดเห็น:

ภูมิกิติ กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกแตกต่างกัน คือ
- จริยศาสตร์ตะวันตกจะเน้นในเรื่องการสอนเป็นหลักซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องปฏิบัติตามเสมอไปซึ่งได้มีกลุ่มนักสอนปรัชญาและวาทศิลป์ได้กล่าวไว้ว่า ความดีของบุคคลอื่นจะไม่มีความหมายหรือไม่มีเหตุผลสำหรับเราแต่อย่างใดเพราะไม่มีบุคคลใดยอมรับความดีของบุคคลอื่นเหมือนกับความดีของตนเองและคานท์ซึ่งเป็นนักจริยศาสตร์ชาวตะวันตกกล่าวไว้ว่า “มนุษย์ที่ดีที่สุดคือผู้ทำหน้าที่ดีที่สุดถูกต้องครบถ้วนที่สุด”
- จริยศาสตร์ตะวันออกจะเน้นในเรื่องของการปฏิบัติ พูดอย่างไรก็ทำเช่นนั้นส่วนใหญ่จะใช้หลักคำสอนทางพุทธศาสนา

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกเหมือนกัน คือ
- มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนมีความรู้ ความคิดว่าอะไรถูก อะไรผิด สิ่งไหนควรทำและสิ่งไหนไม่ควรทำ
- มีจุดมุ่งหมายให้เป็นคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกคล้ายกัน คือ
- มีจุดมุ่งหมายสอนให้คนเป็นคนดี
- มีจุดมุ่งหมายให้คนปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของความดี


นางสาวสนมพร ตะกรุดแจ่ม 52115710117

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกกับตะวันออกนั้นแตกต่างกันเพราะจริยศาตร์ตะวันออกนั้นจะเน้นไปในทางด้านการปฎิบัติตนนั้นต้องประฟฤติตนให้อยู่ในความดีของศีลธรรม
ส่วนของจริยศาสตร์ของตะวันตกนั้นจะเน้นเรื่องของความดีและจะให้ความสำคัญแก่การมีความสูขทางจิตใจมากกว่าความสุขทางกาย
นางสาว นิภาพร บุญสุวรรณ สาขาสังคมศึกษา 52115710115

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกกับตะวันตกนั้นเหมื่อนกันเพราะศึกษาเกี่ยวกับ
-หลักการความดีและการการสอนให้คนเป็นคนดี
-มี่การสอนเกี่ยวกับหลักการทำความดีและการทำปาบ
-หลักดำเนินชีวิตที่มีความสุข
-มีการให้เห็นถึงผลของการทำความดีความชั่ว
นางสาว วิภา แสงคง สาขาสังคมศึกษา 52115710116

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกกับตะวันตกนั้นเหมื่อนกันเพราะศึกษาเกี่ยวกับ
-หลักการความดีและการการสอนให้คนเป็นคนดี
-มี่การสอนเกี่ยวกับหลักการทำความดีและการทำปาบ
-หลักดำเนินชีวิตที่มีความสุข
-มีการให้เห็นถึงผลของการทำความดีความชั่ว
นางสาว วิภา แสงคง สาขาสังคมศึกษา 52115710116

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ลักษณะที่เหมือนกันระหว่างจริยศาตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก
ไม่ว่าจะเป็นจริยศาตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกก็ล้วนแต่สอนให้ปฏิบัติตนในทางที่ดี สอนให้รู้จักถูก ผิด ดี ชั่ว และสอนเรื่องที่สัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์ และมีการต่อยอดทางความคิดสืบทอดกันมา นักปรัชญารุ่นใหม่ได้ศึกษาแนวคิดจากนักปรัชญาก่อนหน้า นำมาคิดต่อหรือเสนอความคิดตรงข้าม หรืออาจนำความคิดมาขยายต่อในเรื่องต่าง ๆ ตามบริบทของสังคมแต่ละยุคสมัย และชี้แนะแนวทางการปฏิบัติตนในทางที่ดีเพื่อสร้างความสุขและคุณค่าให้แก่ชีวิต

ลักษณะที่ต่างกันระหว่างจริยศาตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก
จริยศาสตร์ตะวันออก เน้นการปฏิบัติตนตามคุณงามความดี เพราะมันคือสิ่งที่ดีในตัวของเราเองหรือหลักการดำเนินชีวิตที่ได้ประโยชน์สุข เน้นการปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน ให้ความสำคัญในสังคมมนุษย์และวิธีการแก้ปัญหาในสังคมมนุษย์
คำสอนในที่นี้มักเชื่อมโยงกับศาสนาชี้แนะแนวทางถูกผิดและเหมือนเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยึดถือปฏิบัติ
จริยศาสตร์ตะวันตก เน้นการศึกษาเพื่อรู้ ชี้แนวทางการปฏิบัติตนเพื่อสร้างคุณค่าให้กับชีวิต แต่หากไม่ทำตามก็ไม่ผิดแต่ประการใด เพียงแต่ชี้แนวทางให้เท่านั้น

ลักษณะที่คล้ายกันระหว่างจริยศาตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก
เน้นการปฏิบัติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ชี้แนะว่าอะไรถูก อะไรผิด แต่ละคำสอนก็ล้วนแต่มีความสำคัญและให้ปฏิบัติต่างกันไป ล้วนแล้วแต่ชี้แนวทางการปฏิบัติตนให้ดีด้วยกันทั้งสิ้นเพื่อส่งเสริมให้ชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น

นางสาวอัยลดา อภิธนาภิรักษ์ 52115710119

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกกับตะวันตกนั้นแตกต่างวกันเพราะจริยศาตร์ตะวันออกน้ันเน้นการศึกษาเกี่ยวกับเบญจศีลเบญจธรรมและยังแบ่งออกเป็นทางแห่งกรรมดีและกรรมชั่วเพราะจริยศาสตร์ตะวันออกถือว่าทั้งสองนี้เป็นทางสายกลางของทางตะวันออก
จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นการศึกษาเกี่ยวกับวัดค่าของสิ่งของต่างด้วยคนเช่นคำกล่าวของพวกโชฟิตที่สอนว่า"มนุษย์เป็นเครื่องมือวัดของสิ่งของต่าง"
นางสาว เนตชนก จันทร์ปางาม สาขาสังคมศึกษา 52115710113

นายธงชัย ดีมูลพันธ์ สังคมศึกษา 52115710106 กล่าวว่า...

จงเปรียบเทียบ จริยศาสตร์ตะวันตกกับตะวันออกว่ามีความเหมือนความคล้ายกันหรือมีความแตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ จริยศ่าสตร์ตะวันตก คือ ผู้ที่คิดหลัก จริยศาสตร์ มีหลักปฏิบัติอย่างไร ผู้ที่มีแนวความคิดไม่จำเป็นต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่างก็ได
จริยศาสตร์ตะวันออก คือ ผู้ที่คิดหลัก จริยศาสตร์ มีหลักปฏิบัติอย่างไร ผู้คิดจำเป็นต้องปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เพื่อให้หลัก จริยศาสตร์ของตนน่าเชื่อถือ

ความเหมือนของจริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก คือ หลักจริยศาสตร์ทั้งสองมีแนวความคิดที่จะให้ทุกคนปฏิบัติตนเป็นคนดี เหมือนกัน


ความต่าง คือ จริยศาสตร์ตะวันตก คือ การกระทำอาจตรงข้ามกับแนวความคิด
จริยศาสตร์ตะวันออก คือ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น




นายธงชัย ดีมูลพันธ์ 52115710106 สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

-จริยศาสตร์ตะวันตกจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องความรู้ ความดี และคุณธรรม ซึ่งโดยรวมแล้วอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นตัวสำคัญในการที่จะเลือกปฏิบัติหรือเลือกกระทำในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ผิดหรือถูก ถ้าหากว่าขาดความรู้แล้ว ความดีของบุคคลนั้นอาจจะหดหายไปเพราะขาดปัญญาในการเลือกทำสิ่งที่ควรหรือไม่ควร อาจจะสรุปได้ว่า ความรู้และความดี คือคุณธรรมอันสูงสุด
-จริยศาสตร์ตะวันออก จะเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการทำความดี – ความชั่ว จะเน้นในเรื่องของการปฏิบัติ โดยยึดหลักคำสอนและคำพูดเป็นสำคัญ ก็คือ พูดอย่างไรจะต้องปฏิบัติอย่างนั้น จริยศาสตร์ตะวันออกจะไม่เน้นในเรื่องของความรู้ กล่าวคือ การทำความดีนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นผู้มีปัญญาความรู้ ผู้ไม่มีปัญญาไม่มีความรู้ก็สามารถที่จะทำความดีได้
-ไม่ว่าจะเป็นจริยศาสตร์ตะวันตกหรือจริยศาสตร์ตะวันออก จะมีเป้าหมายสูงสุดเหมือนและคล้ายกันคือ จะสอนให้มนุษย์เป็นคนดี รู้จักผิด ชอบ ชั่ว ดี มีคุณธรรมต่อตนเองและบุคคลอื่น

นางสาวพัชธาวดี โคประยูรณ์ 52115710138

เสาวลักษณ์ (พริก) กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
เสาวลักษณ์ (พริก) กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกแตกต่างกันคือ จริยศาสตร์ตะวันออกจะเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ตัวอย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องปฏิบัติตนอย่างแน่วแน่จนบรรลุโสดาบรรณ แล้วจากนั้นท่านก็นำสิ่งที่ได้มาถ่ายทอด โดยยึดหลักศีลธรรม คือ ตั้งตนให้เป็นคนดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนจริยศาสตร์ตะวันตกนั้นผู้ที่เป็นแนวคิดจะไม่สามารถปฏิบัติตนตามแนวคิดได้ จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งในบุคคลที่จะปฏิบัติได้ สำหรับจริยศาสตร์ตะวันตกจะสอนให้รู้จักความดี ควาภชั่วและความพึงพอในการใช้ชีวิตและมีคุณธรรม
สำหรับความคล้ายกันของจริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกคือ สอนให้บุคคลเป็นคนดี ประพฤติตนดี ตามหลักคุณธรรมจริยธรรม ทั้งจริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกจึงมีความแตกต่างและความคล้ายดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น

นางสาวเสาวลักษณ์ สกุลด่าน สังคมศึกษา 52115710107

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกได้มีความเหมือกัน คือ การสอนให้ตนปฏิบัติในทางที่ดีหรือไม่ดี และการศึกษาเบญจศีลและเบญจธรรม
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกได้มีความคล้ายกัน คือ การกระทำของตนนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือไม่ดี และการกระทำที่มีต่อหลักจริยศาสตร์ของพุทธศาสนา
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความแตกต่างกัน คือ การที่ศึกษาเบญจศีลและเบญจธรรม และในการศึกษาในทางสิ่งที่ดีหรือไม่ดีที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน

นายสมนึก พามา 52115710102 สาขา สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความเหมือนกัน คือ
1. การสอนให้มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆให้บรรลุถึงความดีสูงสุดในศาสนาของตน
2. มีคัมภีร์ของแต่ละศาสนา ซึ่งจะกล่าวถึงหลักคำสอนของแต่ละศาสนา
3. มีผู้นับถือศาสนา
4. มีศาสดา
ความแตกต่าง
1. จริยศาสตร์ตะวันตกจะเชื่อในเรื่องของการนับถือพระเจ้าองค์เดียว ชีวิตและทุกสิ่งทุกอย่างเป็นสิ่งที่เทพเจ้า(God) เป็นผู้กำหนด และยังเชื่อว่าร่างกายของมนุษย์พระเจ้าเป็นผู้สร้างขึ้นด้วยอวัยวะของพระเจ้านั่นเอง
2. จริยศาสตร์ตะวันออกจะเชื่อในเรื่องของการนับถือพระเจ้าหลายๆองค์ รวมถึงเชื่อเรื่องเทวดา เทพเจ้าที่อยู่บนสวรรค์ชั้นฟ้า
ความคล้าย
1. ในแต่ละจริยศาสตร์ไม่ว่าจะเป็นจริยศาสตร์ตะวันออกหรือตะวันตกจะมีลักษณะคำสอนให้มนุษย์ทำความดียกเว้นทำความชั่ว
2. สอนให้มนุษย์อยู่ร่วมกันโดยสันติ เคารพซึ่งกันและกัน
3. มีกฎในการประพฤติตนของมนุษย์ เช่น ในศาสนาพุทธมีศีล 5
4. ความเชื่อ ในแต่ละศาสนาจะมีความเชื่อที่แตกต่างกันออกไปแต่จะมีความคล้ายคลึงกันที่การทำสิ่งดีๆแล้วจะได้ผลตอบแทน เช่นในศาสนาอิสลาม การได้ทำละหมาด ถือศีลอด จะทำให้ได้อยู่ใกล้ชิดพระอัลละห์
นางสาวจุฑามาศ เยาว์ทุม สาขาสังคมศึกษา 52115710128

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การเปรียบเทียบ จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก

ความเหมือน
1. มีนักปรัชญาเหมือนกัน
2. มีลักษณะคำสอนให้มนุษย์ทำความดียกเว้นการกระทำความชั่ว
3. มีผู้สืบทอดจริยศาสตร์
4. มีผู้คนเชื่อในหลักจริยศาสตร์
ความแตกต่าง
1. จริยศาสตร์ตะวันตกจะให้สิ่งความสงบสุขทางใจไม่ได้ แต่จริยศาสตร์ตะวันออกจะมีสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ
2. จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นเทวนิยม แต่จริยศาสตร์ตะวันออกอเทวนิยม
3. คุณค่าชีวิตของชีวิตของ จริยศาสตร์ตะวันตกมี คือ เกียรติ อำนาจ และความมั่นคง แต่คุณค่าของชีวิตของจริยศาสตร์ คือ ความดี
4. จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นนักวัตถุนิยม แต่จริยศาสตร์ตะวันออกเป็นนักจิตนิยม


นางสาวนนทรีย์ ปั่นทิม 52115710104
สาขาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 2

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

การเปรียบเทียบ จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก

ความเหมือน
1. หลักธรรมคำสอนที่เหมือนกัน
2. ความเชื่อเรื่องความดีความชั่ว
3. คัมภีร์
4. มีผู้สืบทอด หรือนักปรัชญาเหมือนกัน
5. จริยศาสตร์ตะวันออกและตะวันตกมีความเหมือนตรงการปฏิบัติตนทำความดีละเว้นความชั่ว
ความแตกต่าง
1. จริยศาสตร์ตะวันตกนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียวซึ่งแตกต่างกับจริยศาสตร์ตะวันออกที่นับถือพระเจ้าหลายองค์นับถือทูตเทวดา
2. ศาสดา
3. เรื่องคุณค่าชีวิตของมนุษย์ เช่น จริยศาสตร์ตะวันตกคิดว่าคุณค่าชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับ เกียรติ และอำนาจ ส่วนจริยศาสตร์ตะวันออกคิดว่าคุณค่าของชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับความดี


นางสาวมารีแย แวนาแว
รหัส 52115710145
สาขาสังคมศึกษาปีที่ 2

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความเหมือนกันคือ
1.มีหลักคำสอนที่คล้ายกันในเรื่องการกระทำความดีและการยกเว้นการ
กระทำความชั่ว
2.คัมภีร์
3.มีการสืบทอดต่อกันไป
4.มีความเชื่อที่เหมือนกัน
5.มีนักปรัชญาเหมือนกัน
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความต่างกันคือ
1.จริยศาสตร์ตะวันตกนับถือพระเจ้าเพียงพระองค์เดียว จริยศาสตร์
ตะวันออกนับถือพระเจ้าหลายพระองค์
2.จริยศาสตร์ตะวันตกเกิดในแถบยุโรป จริยศาสตร์ตะวันออกเกิดในแถบ
เอเชีย


นางสาววรรณวิสา เช้าโต 52115710141
สาขาสังคมศึกษาปีที่ 2

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกกับจริยศาสตร์ตะวันตกเหมือนกันตรงที่เป็นศาสตร์แห่งความรู้ความประพฤติที่เกี่ยวข้องกันการกระทำของมนุษย์ต่างกันตรงที่จริยศาสตร์ตะวันตกออกหลักคำสอนหรือหลักปฎิบัติออกมาชาวตะวันตกก็จะปฎิบัติตนตามแต่ส่วนของชาวตะวันออกออกหลักคำสอนมาไม่จำเป็นที่จะต้องปฎิบัติตามเสมอไป
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์คล้ายกันตรงที่
-เป็นศาสตร์ที่ให้ความรู้เหมือนกัน
-สอนให้ทุกคนเป็นคนดีรู้จักว่าสิ่งไหนควรทำไม่ควรทำ
น.ส. อมรรัตน์ มีเคลือบ 52115710126

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความเหมือนของจริยศาสตร์ตะวันออก และจริยศาสตร์ตะวันตก
1. มีหลักธรรม คำสอน ความเชื่อที่เหมือนกัน เช่น ทำความดีละเว้นความชั่ว
2. มีผู้คนเชื่อในจริยศาสตร์
3. จริยศาสตร์ทั่วไปส่วนใหญ่เป็นจริยธรรมทางสังคม
ความแตกต่างของจริยศาสตร์ตะวันออก และจริยศาสตร์ตะวันตก
1. จริยศาสตร์ตะวันออกเกิดจากการทดลอง แต่จริยศาสตร์ตะวันตกเกิดจากค้นหาสัจธรรม
2. จริยศาสตร์ตะวันตกเกิดแถบยุโรป ซีกโลกตะวันตก แต่จริยศาสตร์ออกเกิดแถบทวีปเอเชีย ซีกโลกตะวันออก
3. จริยศาสตร์ตะวันตกพยายามค้นหาสิ่งอำนวยความสะดวก แต่จริยศาสตร์ตะวันออกค้นหาความสุขทางใจมากกว่าทางกาย


นางสาวเมทินี โคตุดร 52115710124
สาขาสังคมศึกษาปีที่ 2

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตก คือ จริยศาสตร์ตะวันตกจะเน้นเกี่ยวกับเรื่องความรู้ ความดี และคุณธรรม ซึ่งโดยรวมแล้วอาจกล่าวได้ว่า ความรู้เป็นตัวสำคัญในการที่จะเลือกปฏิบัติหรือเลือกกระทำในสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ผิดหรือถูก
จริยศาสตร์ ตะวันออก คือ จะเป็นแนวคิดเกี่ยวกับการทำความดี – ความชั่ว จะเน้นในเรื่องของการปฏิบัติ โดยยึดหลักคำสอนและคำพูดเป็นสำคัญ
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความแตกต่างกัน คือ การที่ศึกษาเบญจศีลและเบญจธรรม และในการศึกษาในทางสิ่งที่ดีหรือไม่ดีที่เรานำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกแตกต่างกันคือ จริยศาสตร์ตะวันออกจะเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ตัวอย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องปฏิบัติตนอย่างแน่วแน่จนบรรลุโสดาบรรณ แล้วจากนั้นท่านก็นำสิ่งที่ได้มาถ่ายทอด โดยยึดหลักศีลธรรม
นางสาวศิรินันท์ เพิงสงเคราะห์ 52115710148 (สังคมศึกษา)

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตก มีความเห็นเกี่ยวกับสิ่งดีงามสูงสุดหรือภาวะสมบูรณ์ ที่เรียกว่า "The Highest Good" นั้นแยกเป็น ๓ พวก และแต่ละพวกก็ยึดถือคนละอย่าง พวกหนึ่งว่าสิ่งดีงามสูงสุด คือ ความสุข อีกพวกหนึ่งว่า คุณธรรมหรือหน้าที่ อีกพวกหนึ่งว่า การพัฒนาเต็มบริบูรณ์แห่งศักยภาพ ซึ่งหลักคำสอนของของตะวันตกจะเน้นหาคำตอบที่ตนเองต้องการเมื่อได้คำตอบที่พอใจแล้วก็จะพอ
จริยศาสตร์ตะวันออก มีความเห็นเกี่ยวกับหลักธรรมคำสอนที่เน้นการปฏิบัติเพื่อที่จะทำให้ตัวเองบรรลุ เช่น หลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา ที่เน้นให้เราปฏิบัติตนเป็นคนดีอยู่ในศีลธรรม
ความเหมือนกันของ จริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก คือการสอนให้คนเป็นคนดี ละเว้นความชั่ว

นายกานต์ กล้าเอี่ยม 52115710122 สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความเหมือนของจริยศาสตร์ตะวันออกกับจริยศาสตร์ตะวันตก คือ ในทางจริยศาสตร์จะมีความเหมือนกันในหลายๆด้าน เช่น การสอนให้คนเป็นคนดี ละเว้นความชั่ว จริยศาสตร์ตะวันออกนั้นจะเกี่ยวเนื่องกับทางพระพุทธศาสนา สาสนาอิสลาม ศาสนาฮินดู – พราหมณ์ ฯลฯ สาสนาเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับจริยศาสตร์ตะวันออก เพราะชาวตะวันออกส่วนมากเป็นพวกนับถือศาสนาพุทธ แต่ชาวตะวันส่วนมากเป็นพวกนับถือศาสนาคริสต์ สิ่งที่ทำให้จริยศาสตร์เหล่านี้เหมือนกัน คือหลักธรรมทางศาสนาที่สอนให้บุคคลมีความประพฤติที่ดีและเป็นคนที่มีคุณภาพในโลกและสังคม

ความคล้ายของจริยศาสตร์ตะวันออกกับจริยสาสตร์ตะวันตก คือ ในทางจริยศาสตร์ทั้ง 2 นี้สิ่งที่มี ความคล้ายกันในทางที่นักจริยศาสตร์ให้ความหมายของจริยสาสตร์ทั้งสองในด้านที่คล้ายกัน และสิ่งที่คล้ายกันเกี่ยวในด้านหลักธรรมและคำสั่งสอนของจริยธรรม และ ศาสนา แต่ในหลักธรรมกับคำสั่งสอนนั้นจะเป็นหลักธรรมที่มีความกันอีกอย่างทั้งในด้านพิธีกรรม

ความแตกต่างของจริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก คือ จะมีความแตกต่างในด้านพิธีกรรมและการนับถือศาสนาของแต่ละคน และความแตกต่างของอายุเวลาจริยศาสตร์ทั้ง 2 ก็ยังเป็นตัวบ่งบอกถึง จำนวนผู้ที่นับถือศาสนาในแต่ละทวีปที่มีความแตกต่างกันในเรื่องของจำนวนของผู้ที่นับถือศาสนา และความเก่าแก่ของจริยศาสตร์นั้น ก้ยังแสดงถึงหลักฐานและตำนานของจริยศาสตร์นั้นๆอีกด้วย

นายอนันต์สิทธิ์ เรืองรุ่ง รหัส 52115710129
สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

วิเคราะห์ความเหมือนความแตกต่างและความคล้ายของจริยศาสตร์ตะวันออกตะวันตก
จริยศาสตร์ตะวันตก เชื่อในธรรมชาตินิยมวัตถุนิยมและเหตุผลนิยมมีรากฐานอยู่บนเหตุผลและความจริงเชื่อความดีความชั่วมีอยู่จริงเอาการปฏิบัติหน้าที่สมบูรณ์เป็นเครื่องหมายของความดีและความถูกต้องโดยเชื่อความดี คือ ความสุข ความชั่ว คือ ความทุกข์ และความสุขเป็นมาตรฐานทางศีลธรรม จริยศาสตร์ตะวันตกเน้นทฤษฎีจะทำหรือไม่ทำตามก็ได้ เช่น การเล่นการพนันเสพสิ่งเสพติดเป็นสิ่งที่ไม่ดีแต่ตัวเองอาจจะทำตรงกันข้ามเป็นเจ้าของบ่อนหรือจำหน่ายสิ่งเสพติดเอง
โดยจริยศาสตร์ตะวันออกเชื่อในเรื่องของกระทำความดีละเว้นความชั่วมีข้อปฏิบัติฝ่ายศีลและธรรมจุนเจือกันมีหลักจริธรรมอาชีพและกฏศีลธรรมให้พึ่งปฏิบัติตามจริยศาสตร์ตะวันออกเน้นการคนบอกต้องปฏิบัติเกิดจากการปฏิบัติก่อนจึงนำมาสู่แนวคิดเป็นหลักธรรมต่างๆเป็นวิถีการดำรงชีวิต เช่น พระพุทธเจ้าที่หาวิธีทางที่พ่นทุกข์หลายวิธีอดข้าวอดอาหารทำให้ร่างกายซูบผ่อมก็ไม่สำเร็จจนพบ อริยสัจ 4 หลักธรรมต่างๆที่ปฏิบัติตามแล้วจะเกิดความดีความสุขต่อตนเอง
เหมือนกัน จริยศาสตร์ตะวันออกและตะวันตกมีแนวความคิดต้องการให้รู้ความหมายลักษณะของความดีอันสูงสุดของมนุษย์ข้อพึ่งปฏิบัติ
แตกต่างกัน จริยศาสตร์ตะวันออกเน้นการกระทำตามข้อปฏิบัติหลักธรรมต่างๆของตน ส่วนจริยศาสตร์ตะวันตกเน้นทฤษฎีจะทำหรือไม่ทำตามก็ได้คนที่กำหนดกฏหรือทฤษฎีข้อปฏิบัติไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม
จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นเทวนิยม ส่วนตะวันออกอเทวนิยม
ความคล้าย จริยศาสตร์ตะวันออกและตะวันตกมีแนวความคิดที่ต้องการให้คนรู้จักการดำรงชีวิตที่ดีมีคุณค่าตามหลักความดี

นาย อธิฐพล สลุงอยู่ รหัส 52115710151

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกกับตะวันออกนั้นแตกต่างกันเพราะจริยศาตร์ตะวันออกนั้นจะเน้นไปในทางด้านการปฎิบัติตนนั้นต้องประฟฤติตนให้อยู่ในความดีของศีลธรรม
ส่วนของจริยศาสตร์ของตะวันตกนั้นจะเน้นเรื่องของความดีและจะให้ความสำคัญแก่การมีความสูขทางจิตใจมากกว่าความสุขทางกาย
ความเหมือนของจริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออก คือ หลักจริยศาสตร์ทั้งสองมีแนวความคิดที่จะให้ทุกคนปฏิบัติตนเป็นคนดี เหมือนกัน
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความเหมือนกัน คือ
1. การสอนให้มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆให้บรรลุถึงความดีสูงสุดในศาสนาของตน
2. มีคัมภีร์ของแต่ละศาสนา ซึ่งจะกล่าวถึงหลักคำสอนของแต่ละศาสนา
3. มีผู้นับถือศาสนา

ความแตกต่าง
1. จริยศาสตร์ตะวันตกนับถือพระเจ้าเพียงองค์เดียวซึ่งแตกต่างกับจริยศาสตร์ตะวันออกที่นับถือพระเจ้าหลายองค์นับถือทูตเทวดา
2. ศาสดา
3. เรื่องคุณค่าชีวิตของมนุษย์ เช่น จริยศาสตร์ตะวันตกคิดว่าคุณค่าชีวิตของมนุษย์ขึ้นอยู่กับ เกียรติ และอำนาจ ส่วนจริยศาสตร์ตะวันออกคิดว่าคุณค่าของชีวิตมนุษย์ขึ้นอยู่กับความดี

นาย พัลลภ เกตุโสภณ 52115710120
สาขาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 2

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกแตกต่างกันคือ จริยศาสตร์ตะวันออกจะเน้นการปฏิบัติเป็นหลัก ตัวอย่างเช่นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าท่านต้องปฏิบัติตนอย่างแน่วแน่จนบรรลุโสดาบรรณ แล้วจากนั้นท่านก็นำสิ่งที่ได้มาถ่ายทอด โดยยึดหลักศีลธรรม คือ ตั้งตนให้เป็นคนดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ส่วนจริยศาสตร์ตะวันตกนั้นผู้ที่เป็นแนวคิดจะไม่สามารถปฏิบัติตนตามแนวคิดได้ จึงทำให้เกิดข้อโต้แย้งในบุคคลที่จะปฏิบัติได้ สำหรับจริยศาสตร์ตะวันตกจะสอนให้รู้จักความดี ควาภชั่วและความพึงพอในการใช้ชีวิตและมีคุณธรรม
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกเหมือนกัน
- มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้คนมีความรู้ ความคิดว่าอะไรถูก อะไรผิด สิ่งไหนควรทำและสิ่งไหนไม่ควรทำ
- มีจุดมุ่งหมายให้เป็นคนที่มีคุณธรรมจริยธรรม

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกคล้ายกัน
- มีจุดมุ่งหมายสอนให้คนเป็นคนดี
- มีจุดมุ่งหมายให้คนปฏิบัติอยู่บนพื้นฐานของความดี

นาย รุ่งเรือง เปรมจรูญ 52115710121
สาขาสังคมศึกษาชั้นปีที่ 2

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก
เหมือนกัน สอนให้เป็นคนดีและปฏิบัติตนตามหลักคำสอนของศาสนา
คล้ายกัน สอนให้เชื่อถือและศรัทธาในศาสนาของตน
ต่างกัน ตะวันออกเน้นการปฏิบัติลงมือทำตามคำสอนของศาสดา ส่วนตะวันตกเน้นการเข้าถึงศาสนาและเชื่อฟังคำสั่งสอนของศาสดาของตน

นางสาวบุญทัญ จำปาดี 52115710131

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความคล้ายกัน

จริยศาสตร์ตะวันออกเป็นข้อปฏิบัติตามคำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นข้อปฏิบัติที่ให้ทุกคนกระทำความดี เป็นการสอนให้คนอย่าทำชั่ว ทำชั่วแล้วจะเกิดอะไร และสิ่งที่ดับทุกข์คืออะไร ควรปฏิบัติตนอย่างไรในสังคม
จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นความคิดเห็นหรือมุมมองของนักปรัชญาแต่ละคนว่ามนุษย์เป็นอย่างไร ธรรมชาติของมนุษย์ มีทั้งภายในและภายนอก เช่นการมีศีลธรรม จริยธรรม ความดี หรือความชั่ว

นางสาวจันทนา นารอด 52115710109

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จงเปรียบเทียบจริยศาสตร์ตะวันตกกับตะวันออกว่ามีความเหมือน ความคล้ายกัน หรือมีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง อธิบาย
-ความเหมือน ทั้งจริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออกล้วนมีหลักคำสอนที่แตกต่างกันของแต่ละศาสนา แต่ก็มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ การสอนให้คนเป็นผู้ที่มีความรู้ สามารถแยกแยะสิ่งที่ดี สิ่งที่ไม่ดีได้ มีคุณธรรม จริยธรรม สามารถอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างเป็นปกติสุข
-ความแตกต่าง จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกนั้นแตกต่างกันตรงที่การปฏิบัติตามหลักคำสอน คือ จริยศาสตร์ตะวันออกจะเน้นที่ผู้คิดหลักการปฏิบัติต่างๆ ขึ้นมาว่าผู้นั้นจะกระทำได้ดีเพียงใด ก่อนที่จะให้ผู้อื่นเชื่อหรือปฏิบัติตามตนเอง เช่น พระพุทธเจ้า ก่อนที่ท่านจะสอนผู้อื่นท่านก็ปฏิบัติตน บำเพ็ญภาวนาจนบรรณลุธรรมต่างๆ แล้วจึงนำหลักคำสอนเหล่านั้นไปสอนผู้ที่ต้องการรู้ให้พบทางที่ตนเองต้องการ ส่วนจริยศาสตร์ตะวันตกนั้นผู้ที่กำหนดหลักคำสอนต่างๆ ตนเองจะสามารถกระทำได้อย่างที่สอนหรือกำหนดไว้ได้หรือไม่ ไม่ได้เป็นสิ่งสำคัญ เพียงแค่ว่าหลักคำสอนนั้นดี ผู้คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับ และสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้ก็พอ
-ความคล้าย ทั้งจริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออกนั้นจะมุ่งให้ความสำคัญกับการสอนคนให้เป็นคนดี ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และดำรงตนอยู่ในพื้นฐานของความดี

นายวีระ สลุงอยู่ สังคม 52115710144

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออกต่างกันคือ
-จริยศาสตร์ตะวันตกจะสอนให้ผู้ที่นับถือหรือปฎิบัตินั้นมุ่งเห็นแจ้งด้วยตนเองและถ้ามีทฤษฎีอื่นมาหักล้างก็สามารถแก้ไข้ได้เสมอตามความเหมาะสม

-จริยศาสตร์ตะวันออกจะสอนให้คนนับถือและปฎิบัติในสิ่งที่เป็นคำสอนซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว เช่นการปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา เป็นต้น

สิ่งที่เหมือนกันของจริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออกคือ
-จะมุ่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดีไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตามจะสอนให้รู้จักดีชั่ว และสอนให้คนเป็นคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

นางสาวเตนรินทร์ หินอ่อน (เต) 52115710142

เต กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
เต กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออกต่างกันคือ
-จริยศาสตร์ตะวันตกจะสอนให้ผู้ที่นับถือหรือปฎิบัตินั้นมุ่งเห็นแจ้งด้วยตนเองและถ้ามีทฤษฎีอื่นมาหักล้างก็สามารถแก้ไข้ได้เสมอตามความเหมาะสม

-จริยศาสตร์ตะวันออกจะสอนให้คนนับถือและปฎิบัติในสิ่งที่เป็นคำสอนซึ่งมีอยู่ก่อนแล้ว เช่นการปฏิบัติตามหลักธรรมของศาสนา เป็นต้น

สิ่งที่เหมือนกันของจริยศาสตร์ตะวันตกและตะวันออกคือ
-จะมุ่งสอนให้ทุกคนเป็นคนดีไม่ว่าจะศาสนาใดก็ตามจะสอนให้รู้จักดีชั่ว และสอนให้คนเป็นคนที่มีคุณธรรมและจริยธรรมอยู่ในตนเอง ไม่เบียดเบียนผู้อื่น

นางสาวเตนรินทร์ หินอ่อน (เต) 52115710142

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

เป็นที่ทราบแล้วว่าปรัชญาตะวันออก เกิดขึ้นที่ประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ส่วน ปรัชญาตะวันตกเกิดที่ประเทศกรีกประมาณ 600 ปีก่อนคริสตกาล เช่นเดียวกันกับจริยศาสตร์ ( Ethics )
ลักษณะของจริยศาสตร์ เป็นศาสตร์ที่ว่าด้วยอุดมคติอันสูงสุดที่มีความสัมพันธ์อยู่กับชีวิตมนุษย์ จริยศาสตร์ตะวันตกกล่าวถึงลักษณะที่ดีหรือเลวแห่งความประพฤติของมนุษย์ โดยเปรียบเทียบความประพฤตินั้นกับความดีเลิศทั้งหลายและยังชี้ถึงความดี ความชั่ว ความถูก ความผิด ธรรมและอธรรมที่แตกต่างของคนเรามีนักปรัชญาหลายท่านที่กล่าวคล้ายกันแต่ขอยกตัวอย่างของโสเครตีส บอกว่า ความรู้เป็นความดีสูงสุด ถ้าใครรู้ว่าอะไรเป็นสิ่งที่ถูก เขาก็ทำสิ่งนั้น “ไม่มีใครทำชั่วโดยความสมัครใจ” ฉะนั้นโสเครตีสจึงได้พยายามช่วยเหลือให้มนุษย์รู้ว่าอะไรเป็นความดีมีหลักความจริงอยู่ว่า “ ความมั่นคั่งทางโลกนั้นไร้ค่าเมื่อเปรียบเทียบกับสมบัติทางใจ แต่ในชีวิตจริงแล้วมนุษย์แสวงหาความมั่นคั่งทางโลกทำราวกับว่าทรัพย์สมบัติเป็นยอดแห่งความดี คนพวกนี้เขาทำตามสิ่งที่เขาเชื่อว่าดี เพราะทุกคนแสวงหาความดี แต่หลายคนไม่รู้ว่าความดีคืออะไร ” จึงกล่าวได้ว่าจริยศาสตร์เป็นกฏเกณฑ์แห่งความประพฤติของมนุษย์ (รายวิชา PY336 จริยศาสตร์ (Ethics or Moral Philosophy) .สืบค้นวันที่ 26 พฤศจิกายน 2553.) ซึ่งทำให้แตกต่างกัน ส่วนจริยศาสตร์ตะวันออกจะกล่าวถึงการวางมาตรการความประพฤติจากพื้นฐานของศาสนาซึ่งจริยศาสตร์ของพุทธศาสนาแบ่งเป็น 3 ระดับ คือเบญจศีล-เบญจธรรม,หลักกุศลกรรมบถ 10 ประการและมรรค 8กับอริยสัจ 4 เป็นต้น (สำเนาประกอบการสอน อ.ภูมิกิต จารุธนนนท์)
ในเมื่อเรารู้แล้วว่าจริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกแตกต่างกันอย่างไรแต่ทั้งสองก็มีความเหมือนกันตรงที่ยังมีองค์กรผู้รับการปฏิบัติเพื่อไปพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้มีค่าและประเสริฐที่สุดโดยมีทั้งคุณธรรมและจริยธรรมควบคู่กันไป ส่วนความคล้ายถึงแม้จะแตกต่างกันทางความคิดแต่ก็มีความสัมพันธ์กันคือพยายามมีวิธีแสวงหาลู่ทางให้มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมโดยสันติ
สรุป จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกมีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือมุ่งให้มนุษย์ดำรงชีวิตอย่างเป็นสุขโดยมีทั้งศีล + ธรรม ควบคู่กันเช่นไม่ฆ่าสัตว์ เพราะมีคุณธรรมคือมีเมตตา ฉะนั้นการพัฒนาสังคมจะต้องอาศัยคำสอนทางศาสนา จริยธรรม ศีลธรรม ควบคู่กันเพื่อมาพัฒนาจิตใจของมนุษย์ให้ดีขึ้นจึงจะอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างสันติสุข
นางสาววันดี อำพันรัตน์ 52115710111 สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความแตกต่างของจริยศาสตร์ตะวันออกกับตะวันตกคือ
จริยศาสตร์ตะวันออกจะเน้นการสอนให้รู้แล้วนำไปปฏิบัติเกี่ยวกับการทำความดีความเลวรู้ผิดชอบชั่วดี การทำความดีความเลว ว่าอันไหนควรทำไม่ควรทำ
จริยศาสตร์ตะวันตกจะเน้นการเรียนแค่พอรู้ ไม่เน้นการปฏิบัติ สอนแค่รู้ว่าดี ว่าเลว
ลักษณะที่ต่างกันคือ
1.เน้นการปฏิบัติตนตามคุณงามความดี
2.หลักการดำเนินชีวิตที่ได้ประโยชน์สุข
3.คำสอนในที่นี้มักเชื่อมโยงกับศาสนาชี้แนะแนวทางถูกผิด
4.เน้นการศึกษาเพื่อรู้ ชี้แนวทางการปฏิบัติตนเพื่อสร้างคุณค่าให้กับชีวิต
ลักษณะที่คล้ายกัน
1.เน้นการปฏิบัติตนในทางที่ถูก ที่ชอบ ที่ควร ชี้แนะว่าอะไรถูก อะไรผิด
2.ชี้แนวทางการปฏิบัติตนให้ดีด้วยกันทั้งสิ้นเพื่อส่งเสริมให้ชีวิตมีคุณค่ามากขึ้น


นางสาวรจนา พรหมงาม สังคมศึกษา 52115710130

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความเหมือนกัน คือ
มีการสอนให้เป็นคนดีและให้มีความรู้อันประเสริฐบรรลุความอยากรู้อยากเห็นและตัดความสงสัยในตัวเอง มีการสืบทอดหลักคำสอนจริยศาสตร์ และมีความคิดของหลายๆคนเข้าด้วยกัน

ความแตกต่าง
จริยศาสตร์ตะวันตก เปรียบเหมือนความสงสัยที่จะรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมหรือความเป็นไปของธรรมชาติหรือสิ่งรอบ ๆ ตัวเอง แต่จริยศาสตร์ตะวันออก เปรียบเหมือนกับปัญหาของชีวิต หรือปัญหาของตัวเอง จึงมีลักษณะเป็นแนวทางแก้ปัญหาชีวิตหรือเป็นวิธีปฏิบัติในการดำเนินชีวิต นั้นเอง

นางสาวระพีพร พันลพ รหัส 52115710134

กิตติศักดิ์ พยุงวงษ์ กล่าวว่า...

ความแตกต่าง
ข้อแตกต่างของจริยศาสตร์ตะวันตกกับจริยศาสตร์ตะวันออกมีความแตกต่างกันคือ จริยศาสตร์ตะวันตกจะเน้นในเรื่องของทฤษฎีและค่อยนำมาปฏิบัติทีหลัง โดยนักจริยศาสตร์หลายคน เช่น อริสโตเติล ค้านท์ หรือ เพลโต ได้เสนอทฤษฎีจริยศาสตร์ของตนเองแล้ว แต่นักจริยศาสตร์เหล่านี้จะปฏิบัติตามแนวทฤษฎีของตนเองหรือไม่ก็ได้ อาจพูดตามหลักง่ายๆคือ “บอกให้คนอื่นทำ แต่ตนเองจะทำหรือไม่ก็ได้”
แต่ในส่วนของจริยศาสตร์ตะวันออกนั้น จะเน้นในเรื่องของการปฏิบัติ เกิดจากการปฏิบัติ ทดลอง แล้วจึงมาสู่การนำเสนอในทางทฤษฎี ยกตัวอย่าง จริยศาสตร์พุทธ ที่เจ้าชายสิทธัตถะ ทรงเบื่อหน่ายชีวิตจึงออกแสวงหาวิถีทางเพื่อทำให้ตนเองหลุดพ้น ไม่ว่าจะเป็นการทรมานตนเอง แต่ก็ไม่สำเร็จ จนในที่สุดพระองค์ก็พบกับหนทางที่จะนำไปสู่การหลุดพ้น คือการเดินทางสายกลาง เพื่อพระองค์ปฏิบัติสำเร็จพระองค์จึกทรงหลักปฏิบัติมานำเสนอในทางทฤษฎี เช่น หลักอริยสัจ 4 มรรคมีองค์ 8 เป็นต้น
ดังนั้นจริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกจึงแตกต่างกันในเรื่องของที่มานั่นเอง

ความเหมือน
จริยศาสตร์ตะวันออกและตะวันตกมีความเหมือนกันในเรื่องของ เป้าหมายสูงสุด คือ การที่ทำให้มนุษย์ได้กระทำความดี เพื่อให้มนุษย์ได้ดำเนินชีวิตอย่างมีคุณค่าตามหลักของความดี อย่างมีเหตุผล อาจกล่าวโดยสรุปว่า จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกมีความเหมือนกันในเรื่องของ เป้าหมายสูงสุด

ความคล้าย
จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความคล้ายกันในเรื่องการนำไปใช้ในการตัดสินใจในการเลือกกระทำความดี นอกจากนั้นหลักทฤษฎีที่เกิดขึ้นก็เกิคจากบุคคลซึ่งเป็นผู้นำทางความคิด ซึ่งทางฝั่งของจริยศาสตร์ตะวันตกอาจเรียกว่า นักปราชญ์หรือนักปรัชญา ส่วนในฝั่งตะวันออกอาจเรียกว่า ศาสดาหรือผู้นำลัทธิ ซึ่งถ้าไม่มีบุคคลเหล่านี้ จริยศาสตร์อาจไม่เกิดขึ่น

นายกิตติศักดิ์ พยุงวงษ์ 52115710132 สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกกับจริยศาสต์ตะวันตกมีความแตกต่างคือ
1.ชาติ การนับถือศาสนา
2.การสอนให้มนุษย์รู้จักบาปบุญคุณโทษ
3.การนำเอาจริยศาสตร์มาใช้ในชีวิตประจำวัน

เหมือนกันคือ
1.สอนให้รู้จักปาบบุญคุณโทษ
2.สอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม
3.มีลักษณะคำสอนให้มนุษย์ทำความดียกเว้นการกระทำความชั่ว

ไม่ว่าจะจริยศาสตร์ตะวันออกหรือจริยศาสตร์ตะวันตกก็สอนให้คนทุกคนเป็นคนดีดันทั้งนั้น

นางสาวนนท์นภัส ศรีแสงเมฆ 52115710135
สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกแตกต่างกันคือ จริยศาสตร์ตะวันออกเน้นการปฏิบัติอย่างแท้จริง การกระทำความดี ละเว้นความชั่ว และผู้ที่เป็นผู้นำหรือผู้คิดค้นทฤษฎีต้องปฏิบัติตามได้ด้วย โดยให้ประชาชนหรือบุคคลปฏิบัติตนโดยยึดหลักของศีลธรรม ส่วนจริยศาสตร์ตะวันตกนั้นจะมุ่งให้บุคคลจะต้องปฏิบัติโดยยึดหลักของความเป็นจริง โดยรู้จักเหตุและผล บุคคลจะรู้จักความดี ความชั่ว ซึ่งพอใจในสิ่งที่ตนมีสิ่งที่ตนเป็น เพื่อที่จะได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ผู้ที่เป็นผู้คิดค้นทฤษฎีจะปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติก็ได้
สำหรับความเหมือนกันของทั้งสองก็คือ จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตกสอนให้บุคคลเป็นคนดี ประพฤติตนดี โดยมีแนวความคิดในลักษณะของความดีนั่นเอง ซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์จะต้องปฏิบัติหรือกระทำ
ความคล้ายกันของจริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันตก คือจะสอนและเน้นปฏิบัติถึงการทำความดี ละเว้นความชั่ว

นางสาวอมรรัตน์ ทองทัพ 52115710112

Unknown กล่าวว่า...
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
จักกพันธุ์ แช่มช้อย กล่าวว่า...

ต่างกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ตลอดจนชาติพันธุ์ ที่ไม่เหมือนกัน ทำให้การประพฤติ ปฎิบัติในการดำเนินชีวิต แตกต่างกัน เช่น การนับถือศาสนา สภาพครอบครัว ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆแตกต่างกัน สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความมีระเบียบวินัย การประหยัด เป็นต้น

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

ความแตกต่างของจริยศาสตร์ตะวันตกกับจริยศาสตร์ตะวันออกคือ จริยศาสตร์ตะวันออกจะเน้นการสอนและให้กระทำจริงรู้จักการทำความดี รู้จักบาป กลัวในสิงที่ตนกระทำความผิดไม่กระทำความผิดให้ตนเองและผู้อื่นเดือนร้อน การสนให้คนทุกคนเป็นคนดีมีศีลธรรม จริยศาสตร์ตะวันตกจะเน้นสอนให้รู้ไม่เน้นการปฏิบัติ สอนให้รู้ถึงความดีความเลวก็พอ

ที่มาของจริยศาสตร์มาจากคำว่า"จริยธรรม"มีความหมายคล้ายกัน

ไม่ว่าจริยธรรมคือจริยศาสตร์ก็มีความหมายคล้ายกันทั้งนั้น คือสอนให้คนดี สอนให้ไม่ทำความผิด สอนให้รู้จักการเป็นมนุษย์เป็นคนดีในสังคม

นางสาวอลิสรา ปิตานา 52115710105 สังคมศึกษา

กชพรรณ นกครุฑ กล่าวว่า...

แตกต่างกัน เพราะ สังคมชาติตะวันตก จะนับถือศาสนาคริสต์ ฉะนั้นกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่างๆจะสอดคล้องกับศาสนาคริสต์ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่จะแตกต่างจากชาติตะวันออกที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศก็มีส่วนทำให้วิถีชีวิต การประพฤติ ปฎิบัติแตกต่างกันด้วย

จักกพันธุ์ แช่มช้อย กล่าวว่า...

ต่างกันเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เนื่องจากความแตกต่างในด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ตลอดจนชาติพันธุ์ ที่ไม่เหมือนกัน ทำให้การประพฤติ ปฎิบัติในการดำเนินชีวิต แตกต่างกัน เช่น การนับถือศาสนา สภาพครอบครัว ตลอดจนพิธีกรรมต่างๆแตกต่างกัน สิ่งที่เห็นได้ชัดอีกอย่างหนึ่งก็คือ ความมีระเบียบวินัย การประหยัด เป็นต้น

นายจักกพันธุ์ แช่มช้อย 52115710149

กชพรรณ นกครุฑ กล่าวว่า...

แตกต่างกัน เพราะ สังคมชาติตะวันตก จะนับถือศาสนาคริสต์ ฉะนั้นกิจกรรมหรือพิธีกรรมต่างๆจะสอดคล้องกับศาสนาคริสต์ วัฒนธรรม ความเป็นอยู่จะแตกต่างจากชาติตะวันออกที่ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธและสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศก็มีส่วนทำให้วิถีชีวิต การประพฤติ ปฎิบัติแตกต่างกันด้วย


น.ส.กชพรรณ นกครุฑ 52115710156

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกแตกต่างกัน คือ
1.จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นเทวนิยม แต่จริยศาสตร์ตะวันออกอเทวนิยม
2.การสอนให้มนุษย์รู้จักบาปบุญคุณโทษ
3.จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นนักวัตถุนิยม แต่จริยศาสตร์ตะวันออกเป็นนักจิตนิยม
จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกเหมือนกัน คือ
1. การสอนให้มนุษย์กระทำสิ่งต่างๆให้บรรลุถึงความดีสูงสุดในศาสนาของตน
2.สอนให้รู้จักปาบบุญคุณโทษ
3.สอนให้เป็นคนดีมีศีลธรรม
ความคล้าย
จริยศาสตร์ตะวันออกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีความคล้ายกันในเรื่องการนำไปใช้ในการตัดสินใจในการเลือกกระทำความดี นอกจากนั้นหลักทฤษฎีที่เกิดขึ้นก็เกิคจากบุคคลซึ่งเป็นผู้นำทางความคิด ซึ่งทางฝั่งของจริยศาสตร์ตะวันตกอาจเรียกว่า นักปราชญ์หรือนักปรัชญา ส่วนในฝั่งตะวันออกอาจเรียกว่า ศาสดาหรือผู้นำลัทธิ ซึ่งถ้าไม่มีบุคคลเหล่านี้ จริยศาสตร์อาจไม่เกิดขึ่นก็ได้
นาย ฐิติพงศ์ บริบูรณ์ สังคมศึกษา 52115710136

มนตรี อามเทศ กล่าวว่า...

ความเหมือนระหว่างจริยศาสตร์ตะวันออกกับจริยสาสตร์ตะวันตก
1. จริยศาสตร์จะเน้นไปในเรื่องการแสวงหาความดีสูงสุดจากการปฏิบัติ เช่น การปฏิบัติหน้าที่ของตัวเองให้สมบูรณ์หรือให้ดีที่สุด เป็นต้น
2. จริยศาสตร์จะกล่าวถึงหลักในการดำเนินชีวิตหรือหลักในการปฏิบัติของคนในทุกระดับ เช่น ผู้ที่ปกครองกับผู้ที่อยู่ใต้ปกครอง ตำรวจกับประชาชน มิตร สามีและภรรยา บุตร เป็นต้น
3. เรื่องของมิตรภาพเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นในชีวิต เช่น จริยศาสตร์ของอริสโตเติลและจริยศาสตร์ของขงจื้อ
4. การปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์จะปฏิบัติเพื่อความพ้นทุกข์ ให้เกิดความสุข ความสำเร็จ และสันติ
5. ถือว่าเจตนาเป็นเครื่องตัดสินความดีความชั่ว
ความแตกต่างระหว่างจริยศาสตร์ตะวันออกกับจริยสาสตร์ตะวันตก
จริยศาสตร์ตะวันตก
- เจ้าของหลักจริยศาสตร์ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ของตนเพื่อเป็นตัวอย่าง
- จริยศาสตร์ของตะวันตกจะแบ่งเป็นยุค
- การมีเหตุผลเป็นสิ่งสำคัญในการปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์
- ถือว่าสติปัญญาเป็นความดีอันสูงสุด
จริยศาสตร์ตะวันออก
- เจ้าของหลักจริยศาสตร์ต้องปฏิบัติตามหลักจริยศาสตร์ของตนเป็นตัวอย่าง
- จริยศาสตร์ตะวันออกไม่แบ่งเป็นยุค
- ไม่เน้นเหตุผลแต่เน้นในหลักของการปฏิบัติ
- ใช้สติปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการปฏิบัติ
ความคล้ายของจริยศาสตร์ตะวันออกกับจริยสาสตร์ตะวันตก
ความคล้าย คือ ความหมายของจริยสาสตร์ทั้งสอง จุดหมายคล้ายกันในเรื่องการปฏิบัติเพื่อความสุข การปฏิบัติคล้ายกันคือต้องอยู่ในกรอบของความประพฤติที่เหมาะสม

นายมนตรี อามเทศ สาขาวิชา สังคมศึกษา รหัส 52115710140

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกแตกต่างจากจริยศาสตร์ตะวันออกอย่างไร
- จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นคำสอนของนักปรัชญาต่างๆ มุ่งสอนเรื่องการมีคุณธรรม ความดี ความรู้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อของบุคคล ส่วนจริยศาสตร์ตะวันออกเป็นคำสอนของพุทธศาสนามุ่งให้ทุกคนปฏิบัติตามคำสอนเชื่อว่า ทำดีจะได้ดี เป็นผลกับมา
- จริยศาสตร์ตะวันตกมีกลุ่มนักปรัชญาและวาทศิลป์ชื่อกลุ่มโซฟิสต์ เป็นกลุ่มสำคัญในการเผยแผ่ความคิดทางจริยศาสตร์มีทัศนะเกี่ยวกับ ความจริง ความดี ความชั่ว ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเพียงการรับรู้ของปัจเจกชนเท่านั้น แต่ในทางจริยศาสตร์ตะวันออกเป็นพุทธศาสนาจะสอนในเรื่องการปฏิบัติตนเป็นคนดี ซึ่งทางศาสนาเชื่อว่าการทำดีจะได้ผลดีตอบบแทนแต่ถ้าหากทำความชั่วสิ่งที่ไม่ดีจะกลับคืนมา
- ในจริยศาสตร์ตะวันตกกลุ่มนักปรัชญาคานท์ จงทำตามหน้าที่ ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ เช่น เรานัดเพื่อนไว้เวลาเที่ยง แต่เราเจอคนเกิดอุบัติเหตุเราเข้าไปช่วยจึงมาช้า เราจะผิดกฎจงทำตามหน้าที่ แต่ถ้าเราไม่ช่วยเพื่อนมนุษย์เราก็ผิดกฎข้อที่ จงช่วยเพื่อนมนุษย์ ส่วนในทางจริยศาสตร์ตะวันออก พุทธศาสนาเชื่อว่าการปฏิบัติดีต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม
จริยศาสตร์ตะวัตกเหมือนกับจริยศาสตร์ตะวันออกอย่างไร
มีความเหมือนกันในบางกลุ่มของนักปรัชญาตะวันตกและพุทธศาสนาของตะวันออก
- จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมุ่งสอนให้ทุกคนทำความดี มีคุณธรรมคิดดี ปฎิบัติตนเป็นคนดีของสังคม รู้คุณค่าของตนเอง
- คำสอนต่างๆ ของนักปรัชญาของจริยศาสตร์ตะวันตกและพุทธศาสนาของตะวันออกจะมีผู้รับคำสอน หรือ องค์กรที่รับคำสอน และมนุษย์โลก นำคำสอนในจริยศาสตร์มาปฏิบัติตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ส่วนมากเป็นเรื่องของคุณธรรม ความดี
จริยศาสตร์ตะวันตกคล้ายกับจริยศาสตร์ตะวันออกอย่างไร
มีความคล้ายกันในบางกลุ่มคำสอนของนักปรัชญาและพุทธศาสนา
- กลุ่มนักปรัชญาของจริยศาสตร์ตะวันตกและพุทธศาสนาของตะวันออกสอนในเรื่องการมีคุณธรรม ทำความดี แต่จะต่างกันเล็กน้อยตรงที่ในจริยศาสตร์ตะวันตกเห็นว่า คำสอนต่างๆ จะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ตามความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่พุทธศาสนาการปฏิบัติตามคำสอนที่เป็นคุณธรรมเป็นผลดีแก่ตนเอง
- ปรัชญาจริยธรรมของฟิชท์ มีการใช้ศีลธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งศีลธรรมมาจากคำสอนในศาสนา ถ้าปราศจากศาสนาแล้วหลักศีลธรรมของฟิชท์จะไม่มีความหมาย จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออก สามารถนำมาปรับใช้ด้วยกันได้
สรุป การศึกษาจริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีส่วนช่วยให้มนุษย์สามารถเลือกคำสอนต่างๆ มาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีแก่ตนเองและสังคม
น.ส. นิลาวรรณ สุกาญจนาพันธ์ 52115710123 สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

จริยศาสตร์ตะวันตกแตกต่างจากจริยศาสตร์ตะวันออกอย่างไร
- จริยศาสตร์ตะวันตกเป็นคำสอนของนักปรัชญาต่างๆ มุ่งสอนเรื่องการมีคุณธรรม ความดี ความรู้ ขึ้นอยู่กับความเชื่อของบุคคล ส่วนจริยศาสตร์ตะวันออกเป็นคำสอนของพุทธศาสนามุ่งให้ทุกคนปฏิบัติตามคำสอนเชื่อว่า ทำดีจะได้ดี เป็นผลกับมา
- จริยศาสตร์ตะวันตกมีกลุ่มนักปรัชญาและวาทศิลป์ชื่อกลุ่มโซฟิสต์ เป็นกลุ่มสำคัญในการเผยแผ่ความคิดทางจริยศาสตร์มีทัศนะเกี่ยวกับ ความจริง ความดี ความชั่ว ว่าเป็นสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง แต่เป็นเพียงการรับรู้ของปัจเจกชนเท่านั้น แต่ในทางจริยศาสตร์ตะวันออกเป็นพุทธศาสนาจะสอนในเรื่องการปฏิบัติตนเป็นคนดี ซึ่งทางศาสนาเชื่อว่าการทำดีจะได้ผลดีตอบบแทนแต่ถ้าหากทำความชั่วสิ่งที่ไม่ดีจะกลับคืนมา
- ในจริยศาสตร์ตะวันตกกลุ่มนักปรัชญาคานท์ จงทำตามหน้าที่ ถ้าเราไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ เช่น เรานัดเพื่อนไว้เวลาเที่ยง แต่เราเจอคนเกิดอุบัติเหตุเราเข้าไปช่วยจึงมาช้า เราจะผิดกฎจงทำตามหน้าที่ แต่ถ้าเราไม่ช่วยเพื่อนมนุษย์เราก็ผิดกฎข้อที่ จงช่วยเพื่อนมนุษย์ ส่วนในทางจริยศาสตร์ตะวันออก พุทธศาสนาเชื่อว่าการปฏิบัติดีต่อเพื่อนมนุษย์ ทำให้เกิดผลดีทั้งต่อตนเองและสังคม
จริยศาสตร์ตะวัตกเหมือนกับจริยศาสตร์ตะวันออกอย่างไร
มีความเหมือนกันในบางกลุ่มของนักปรัชญาตะวันตกและพุทธศาสนาของตะวันออก
- จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมุ่งสอนให้ทุกคนทำความดี มีคุณธรรมคิดดี ปฎิบัติตนเป็นคนดีของสังคม รู้คุณค่าของตนเอง
- คำสอนต่างๆ ของนักปรัชญาของจริยศาสตร์ตะวันตกและพุทธศาสนาของตะวันออกจะมีผู้รับคำสอน หรือ องค์กรที่รับคำสอน และมนุษย์โลก นำคำสอนในจริยศาสตร์มาปฏิบัติตามความเชื่อของแต่ละบุคคล ส่วนมากเป็นเรื่องของคุณธรรม ความดี
จริยศาสตร์ตะวันตกคล้ายกับจริยศาสตร์ตะวันออกอย่างไร
มีความคล้ายกันในบางกลุ่มคำสอนของนักปรัชญาและพุทธศาสนา
- กลุ่มนักปรัชญาของจริยศาสตร์ตะวันตกและพุทธศาสนาของตะวันออกสอนในเรื่องการมีคุณธรรม ทำความดี แต่จะต่างกันเล็กน้อยตรงที่ในจริยศาสตร์ตะวันตกเห็นว่า คำสอนต่างๆ จะปฏิบัติหรือไม่ก็ได้ ตามความคิดเห็นส่วนบุคคล แต่พุทธศาสนาการปฏิบัติตามคำสอนที่เป็นคุณธรรมเป็นผลดีแก่ตนเอง
- ปรัชญาจริยธรรมของฟิชท์ มีการใช้ศีลธรรมในการดำเนินชีวิต ซึ่งศีลธรรมมาจากคำสอนในศาสนา ถ้าปราศจากศาสนาแล้วหลักศีลธรรมของฟิชท์จะไม่มีความหมาย จริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออก สามารถนำมาปรับใช้ด้วยกันได้
สรุป การศึกษาจริยศาสตร์ตะวันตกและจริยศาสตร์ตะวันออกมีส่วนช่วยให้มนุษย์สามารถเลือกคำสอนต่างๆ มาปฏิบัติ เพื่อให้เกิดผลดีแก่ตนเองและสังคม
น.ส. นิลาวรรณ สุกาญจนาพันธ์ 52115710123 สังคมศึกษา

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

kkkkkkkkk
ภูมิกิติ