วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประมวลการสอนวิชาความจริง

ประมวลการสอน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
สาขาวิชา ปรัชญาและศาสนา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
รหัสวิชา 2110101 และ 1500104 หน่วยกิต 3(3-0-6)
ชื่อวิชา ความจริงของชีวิต (Meaning of Life)
สถานภาพของวิชา £ บังคับ R เลือก
วิชาในหลักสูตร R ปริญญาตรี £ ป.บัณฑิต £ ปริญญาโท
จำนวนชั่วโมง / สัปดาห์
บรรยาย 3 ชั่วโมง ปฏิบัติ - ชั่วโมง ค้นคว้า 6 ชั่วโมง
ผู้สอน อ.ภูมิกิติ จารุธนนนท์ (โทร. ) E - mail : pans_2009@hotmail.com ห้องพัก 2/201
บล๊อกของอาจารย์ http://kit-meaninoflife.blogspot.com/
______________________________________________________________________________________________

คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาความจริงของชีวิต ความหมายของชีวิต การดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันและโลกยุควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเอาความจริงและหลักศาสนธรรมไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาและพัฒนาปัญญา ชีวิตและสังคม การพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักศาสนธรรม เพื่อชีวิตที่มีสันติสุขและสังคมที่มีเสถียรภาพ

วัตถุประสงค์หลังจากเรียนรายวิชานี้แล้ว ผู้เรียนเกิดผลการเรียนรู้ ดังนี้
1. เข้าใจความหมายของชีวิต และเห็นความสำคัญของการเกิดมาเป็นมนุษย์
2. เข้าใจสาระของชีวิตตามแนวทางของปรัชญาทฤษฎีต่าง ๆ และตามหลักคำสอนของศาสนาต่าง ๆ
3. สามารถนำหลักปรัชญาและหลักศาสนามาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้
4. สามารถพิจารณาความจริงของชีวิตด้วยปัญญา เห็นคุณค่าของชีวิตตนเอง และผู้อื่น
5. เห็นคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม สามารถเลือกคุณธรรมและจริยธรรมมาใช้ให้เหมาะสมแก่
สถานการณ์ได้
6. รู้จักนำปัญหาอันอาจเกิดขึ้นในชีวิตมาพิจารณาหาสาเหตุและใช้หลักศาสนธรรมแก้ปัญหาชีวิตได้
7. รู้จักกำหนดหลักการดำเนินชีวิตเพื่อความสงบสุขแก่ตนเองและเกิดสันติสุขแก่สังคม





เนื้อหารายวิชาและกิจกรรมรายสัปดาห์
สัปดาห์ที่
หัวเรื่อง
กิจกรรม
สื่อการสอน
การวัดผล
1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคำว่า “ความจริงชีวิต” “คน” และคำว่า “มนุษย์”
1. อธิบายแผนการสอน
2. ให้ทดลองเขียนอธิบายความหมายของ
ต่าง ๆ เป็นรายบุคคลแล้วสุ่มอ่าน
3. อธิบายความหมายของคำต่าง ๆ ประกอบแผ่นใสและซักถามเป็นรายบุคคล
4. ให้แสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม
- power point
-แผนการสอน
-ใบความรู้ 1.1

- สังเกตจากการ
ตอบคำถาม
- พิจารณาและ
ตรวจสอบ
ใบความรู้
2
- ความเป็นมาของชีวิตคนตามความคิด
ของนักปรัชญา
- ความเป็นมาของคนตามหลักศาสนา
พราหมณ์ พุทธ คริสต์ และอิสลาม
- ความต้องการของคน
1. เล่าตำนานของคนที่มาจากศาสนาต่าง ๆ
2. อธิบายประกอบการซักถามพร้อมฉาย
แผ่นใส
3. อภิปรายประกอบการซักถามพร้อมฉาย
แผ่นใส
4. อภิปรายเรื่องความต้องการของคน
5. ทดลองตอบคำถามท้ายหน่วย
- power point
-ใบความรู้ 1.2.1
-ใบความรู้ 1.2.2
-ใบความรู้ 1.4.1



- สังเกตการร่วม
กิจกรรม
- ตรวจใบความรู้
3
คุณค่าชีวิตของคนที่มีต่อบุคคลอื่น ๆ
1. แบ่งกลุ่มจับฉลากบัตรงาน อภิปรายกลุ่มในหัวข้อที่แตกต่างกัน
2. ตัวแทนแต่ละกลุ่มรายงาน
3. อภิปรายประกอบการซักถามและฉาย
แผ่นใส
- power point
- ฉลากหัวข้อ
เรื่อง



- สังเกตจากความ
สนใจในการร่วม
กิจกรรม
- ประเมินจาก
ผลงานการเขียน
และการพูด

4
จุดมุ่งหมายของชีวิตตามหลักปรัชญา
- สุขนิยม
- ปัญญานิยม
- วิมุตินิยม
- มนุษยนิยม
- อัตถิภาวนิยม
1. อธิบายประกอบการซักถาม
2. อภิปรายเปรียบเทียบจุดมุ่งหมายของชีวิตตามหลักปรัชญาทฤษฎีต่าง ๆ
3. เขียนรายงานส่งเป็นงานกลุ่ม


- power point
-ใบความรู้ที่ 3.1


- สังเกตและ
ตรวจสอบใบ
ความรู้




สัปดาห์ที่
หัวเรื่อง
กิจกรรม
สื่อการสอน
การวัดผล
5
จุดมุ่งหมายของชีวิตตามหลักศาสนาพราหมณ์ พุทธ คริสต์ อิสลาม
1. อภิปรายประกอบการฉายแผ่นใส
2. นักศึกษาสรุปจุดมุ่งหมายของชีวิตตามหลักศาสนาต่าง ๆ เป็นรายบุคคล
3. อภิปรายลักษณะของจุดมุ่งหมายของชีวิตที่ดีและเป็นไปได้
4. อภิปรายสรุปความสำคัญของการตั้งจุดมุ่งหมายของชีวิต
- power point
-ใบความรู้ที่ 3.2
- สังเกตและ
ประเมินจาก
การอภิปราย
ร่วมกัน
6
ปัญหาของชีวิตที่เป็นปัญหาสังคม

1. ยกตัวอย่างข่าวและสรุปปัญหาจากข่าว
2. ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มอ่านข่าวที่เตรียมมาให้ไม่ซ้ำกันและร่วมกันอภิปรายสาเหตุของปัญหาพร้อมวิธีป้องกันแก้ไข
3. จับฉลากหาตัวแทนกลุ่มรายงานหน้าชั้น
4. สรุปด้วยแผ่นใส
-กระดาษ
ชาร์ทติดข่าว
-ฉลาก
- power point
- รายงานกลุ่ม
- สังเกตและ
ประเมินจาก
การนำเสนอ
ของแต่ละกลุ่ม
7
ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากตัวมนุษย์เอง
1. อธิบายปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดจากมนุษย์
ประกอบซักถามพร้อมฉายแผ่นใส
2. นักศึกษารวมกลุ่มกันพิจารณาความทุกข์ของคนที่อยู่ในข่าว
3. เขียนส่งเป็นรายงานกลุ่ม
- power point
- ข่าว
- สังเกตและ
ตรวจสอบ
คำตอบของแต่
ละกลุ่ม
8
แก้ปัญหาชีวิตด้วยหลักอริยสัจ 4 ไตรสิกขา ไตรลักษณ์
1. เปิดแถบบันทึกเสียงธรรมะ ประกอบนิทานให้ฟัง 20 นาที
2. แบ่งกลุ่มตั้งคำถามที่ได้จากการฟัง
3. จับฉลากหากลุ่มที่เป็นผู้ถามและกลุ่มที่เป็นผู้ตอบเพื่อให้คะแนนกลุ่ม
-เทป
-แถบบันทึกเสียง
- power point

- สังเกตความ
สนใจ
- ตรวจสอบ
คำตอบแต่ละ
กลุ่ม
9
แก้ปัญหาชีวิตด้วยหลักธรรม คือ
- อริยสัจ
- ไตรสิกขา
- ไตรลักษณ์

1. อธิบายประกอบการซักถาม
2. ให้ยกตัวอย่างการกระทำที่สอดคล้องกับ
หัวข้อต่าง ๆ เป็นรายบุคคล
3. อธิบายสรุปด้วยแผ่นใสแสดงแผนภูมิ
หลักธรรม
4. ยกตัวอย่างปัญหาชีวิตให้นักศึกษา
อภิปรายแก้ปัญหาด้วยหลักธรรม
- power point

- แบ่งกลุ่ม
อภิปราย
- ทดสอบย่อย
สัปดาห์ที่
หัวเรื่อง
กิจกรรม
สื่อการสอน
การวัดผล
10
หลักธรรมเพื่อสันติสุขในสังคม
เบญจศีล เบญจธรรม
อิทธิบาท ฆราวาสธรรม
สังคหวัตถุ พรหมวิหาร
ทิศ 6 อบายมุข
1. แบ่งกลุ่มให้ค้นคว้ามาล่วงหน้า
2. เล่นเกมตอบปัญหาทีละกลุ่มตามหัวข้อ
ที่จับฉลากได้ให้คะแนนกลุ่ม
3. เฉลยและอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติม
- ฉลากหัวข้อ
หลักธรรม
-ใบความรู้ที่ 6.1
- สังเกตความ
สนใจและ
ตรวจสอบ
คำตอบของแต่
ละกลุ่ม
11
หลักธรรมเพื่อสันติสุขในสังคม
- กฎแห่งกรรม

1. เล่าเรื่องที่แสดงถึงกฎแห่งกรรม
2. เล่มเกมตอบปัญหาทีละกลุ่มตามหัวข้อ
ที่จับฉลากได้ให้คะแนนกลุ่ม
3. เฉลยและอธิบายหลักธรรมเพิ่มเติม
- power point

- ตรวจสอบ
คำตอบแต่ละ
กลุ่ม
12
หลักธรรมของศาสนาอื่นเพื่อสันติสุขของสังคม
- ศาสนาคริสต์
- ศาสนาอิสลาม
- ศาสนาเต๋า
- ศาสนาขงจื๊อ
ฯลฯ
1. อภิปรายถึงหลักธรรมของศาสนาอื่นที่ นักศึกษามีความรู้มาแล้ว
2. อธิบายหลักธรรมของศาสนาอื่นแต่ละศาสนา
3. นักศึกษาร่วมกันพิจารณาหลักธรรมที่ทุกศาสนาสอนเหมือนกันและหลักธรรมที่มีเฉพาะบางศาสนา
4. ตอบคำถามหน่วยที่ 7
-VCD ประวัติพระเยซู
- วัฒนธรรม
อิสลาม
- power point

- สังเกตความ
สนใจ
13
คุณธรรมสำหรับคนในสังคม
มงคลชีวิต 38 ประการ
1. ให้นักศึกษาช่วยกันยกตัวอย่างคุณธรรม
ต่าง ๆ ที่ควรปลูกฝังให้คนในสังคม
แล้วเขียนลงแผ่นใส
2. ให้นักศึกษาอ่านหัวข้อมงคลชีวิตทั้ง 38
ประการเพื่อพิจารณามงคลชีวิตที่สอด
คล้องกับหลักธรรม
3. นักศึกษาอธิบายประโยชน์ของ
หลักธรรมและประโยชน์ของมงคล
ชีวิตเป็นรายบุคคล
-ชุดการสอน
- power point


- สังเกตจากการ
ร่วมกิจกรรม
14 - 15
รายงานปลายภาคเพื่อสรุปความเข้าใจเกี่ยวกับความจริงของชีวิต
นักศึกษารายงานกลุ่มหน้าชั้นเรียนโดยให้คะแนนเป็นรายบุคคล (งานนี้สั่งล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์)
- เอกสารคำสอน
- สื่อสิ่งพิมพ์
ต่างๆ
- ฟังและประเมินจากการพูดและเอกสารที่ส่ง

วิธีการวัดผล
วิธีการ คะแนน ร้อยละ
1. คะแนนระหว่างภาคเรียน
1.1 การร่วมกิจกรรม (เข้าชั้นเรียน) = 10 10
1.2 ทดสอบย่อย = 30 30
1.3 สอบกลางภาค = 30 30
2. คะแนนสอบปลายภาค = 30 30
รวม (Total) = 100 100
3. เกณฑ์การตัดเกรด
A = 80 – 100 B+ = 75 – 79 B = 70 – 74 C+ = 65 – 69
C = 60 – 64 D+ = 55 – 59 D = 50 – 54 E = 0 – 49
I = ส่งงานไม่ครบ X = ขาดสอบปลายภาค
รายชื่อตำรา เอกสาร วารสาร
1. บังคับ
ภูมิกิติ จารุธนนนท์. (2548) เอกสารประกอบการสอนวิชาความจริงของชีวิต. ลพบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และ
สังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
2. เพิ่มเติม
กีรติ บุญเจือ, ศาสตราจารย์. (2538). จริยศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
. (2538). ปรัชญาสำหรับผู้เริ่มเรียน. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ไชย ณ พล. (2539). การบริหารชีวิตให้เกิดประโยชน์สูงสุด. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เคล็ดไทย.
เตชปัญโญภิกขุ. (2540). ศึกษาพุทธศาสนาอย่างวิทยาศาสตร์. เชียงใหม่ : สำนักพิมพ์บุณยนิธิ.
บุญมี แท่นแก้ว, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. (2541). ปรัชญา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.
ปัญญา สละทองตรง. (2540). ธรรมคดี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
พร รัตนสุวรรณ. (2542). หลักพระพุทธศาสนาสำหรับทุกคน. สำนักค้นคว้าทางวิญญาณ.
พระเทพเวที (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). (2542). ไตรลักษณ์. กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). พุทธธรรมกับปรัชญาการศึกษาไทยในโลกยุคโลกาภิวัตน์. คณะศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
. (2538). วินัยเรื่องใหญ่กว่าที่คิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
. (2543). พุทธศาสน์กับการแนะแนว. (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ : มูลนิธิพุทธธรรม.
พระมหาจรรยา สุทฺธิาโณ. (2541). ทางสันติสุข. กรุงเทพฯ : ดาราวรรณการพิมพ์.
พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ, ตาโณ). (2541). โลกและชีวิตในวิถีแห่งธรรม. กรุงเทพฯ : ศูนย์ส่งเสริม
พระพุทธศาสนาแห่งประเทศไทย.
พระราชสุทธิญาณมงคล(จรัล ตธมฺโม). (2542). พุทธศาสนาและปัญญาชนตะวันตก. กรุงเทพฯ : วิริยะพัฒนาการพิมพ์.
พฤฒาจารย์ วิพุธ โยคะ รัตนรังษี. (2530). เกร็ดความรู้เรื่องราวชีวิตมนุษย์ในวัฏจักร. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
พุทธทาสภิกขุ. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). เมื่อธรรมครองโลก. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สุขภาพใจ.
ระวี ภาวิไล. (2537). ชีวิตดีงาม. (พิมพ์ครั้งที่ 2) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ.
ระวี ภาวิไล. (2538). คุณค่าชีวิต. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ผีเสื้อ.
วิทย์ วิศทเวทย์, ศาสตราจารย์ ดร. (2542). ปรัชญาทั่วไป ฉบับปรับปรุงใหม่. (พิมพ์ครั้งที่ 15). กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์.
สมภาร พรมทา. (2542). พุทธปรัชญา มนุษย์ สังคมและปัญหาจริยธรรม. กรุงเทพฯ : โครงการตำรา คณะอักษรศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุจิตรา (อ่อนค้อม) รณรื่น. (2540). ปรัชญาเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ : อักษรพิพัฒน์.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2541). คนควรคิด. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์บุ๊คแบงก์.
เสฐียรพงษ์ วรรณปก. (ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์). พุทธวิธีแก้ทุกข์ในสายธารธรรม. ชุมพร : สวนปฏิบัติธรรมทุ่งไผ่.
เสรี พงษ์พิศ และคณะ. (2524). คนในทรรศนะของศาสนาอิสลามและคริสต์ศาสนา. กรุงเทพฯ : สภาคาทอลิกแห่ง
ประเทศไทยเพื่อการพัฒนา.
ค้นคว้าจาก internet
http://kit-meaninoflife.blogspot.com/
www.kin-author.com/truth.htm
www.webdidi.com/Knowledge/religious%20&%20philosophy.htm
www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php
www.budpage.com/
www.nrru.ac.th/web/gen_educ/plan/real_life.html
www.arts.chula.ac.th/~philoso/philos/teachers.htm
เงื่อนไขของวิชา
1. นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยล่ะ 80 ของเวลาเรียนจึงมีสิทธิ์สอบ
2. การส่งงานต้องเป็นไปตามกำหนด
3. นักศึกษาต้องตรงต่อเวลา กรณีที่มีสายเกิน 15 นาที ให้ถือว่าขาดเรียนในชั่วโมงนั้น ๆ
4. หากนักศึกษามีความจำเป็น ไม่สามารถเข้าเรียนได้ให้ส่งใบลาขอหยุดเรียนในแต่ละชั่วโมง
5. นักศึกษาต้องปิดสัญญาณการสื่อสารทุกชนิดในขณะที่เรียนเพื่อมิให้รบกวนผู้อื่น
6. เมื่อนักศึกษาต้องการติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนสามารถเขียนโน๊ตวางไว้บนโต๊ะอาจารย์ที่ห้อง 2/201 หรือติดต่อทางโทรศัพท์ ทาง E-mail ตามที่แจ้งไว้ในประมวลการสอน


วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน โส เสฏฺโ เทวมานุเส
ผู้มีความรู้และความประพฤติดีเป็นผู้ประเสริฐที่สุดในหมู่เทพและมนุษย์

ไม่มีความคิดเห็น: