วันศุกร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกับสังคม



การพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมกับสังคม
โดย กิตติอาภา กรณ์ใหม่
ที่มา: มติชนรายวัน วันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2551 ปีที่ 31 ปีที่ 31 ฉบับที่ 11130 (หน้า 9)
ความเปลี่ยนแปลงทางคุณธรรม จริยธรรมที่น่าวิตก คือการประพฤติปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม ซึ่งสมัยก่อนถือว่าเป็นความชั่ว ความเลวร้าย ความผิดด้านคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม แต่บางสิ่งบางอย่างที่กล่าวมาเป็นสิ่งที่สังคมปัจจุบันยอมรับ และปฏิบัติกันอย่างไม่ละอายไม่สะดุ้งสะเทือน จนบางครั้งทำให้เกิดปัญหาและวิถีชีวิตของคนเปลี่ยนแปลงไปหากปล่อยให้ปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือเพิ่มความรุนแรงจะเป็นปัญหาต่อวิถีชีวิตทุกฝ่ายต้องร่วมกันแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง อย่างน้อยก็ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบให้เพิ่มพูนขั้นเป็นลำดับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 ซึ่งเริ่มตั้งแต่ปี พุทธศักราช 2545 เป็นต้นไป มีเป้าหมายในการพัฒนาที่สำคัญคือ การพัฒนาคนไทยให้มีคุณธรรมจริยธรรมสูง มีความขยันขันแข็งในการปฏิบัติตามหน้าที่ต่างๆ ของตนเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและป้องกันการเกิดปัญหาสังคมที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้มีการปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมเพื่อเป็นการพัฒนาจิตใจ ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมของพระพุทธศาสนา คือ การทำความดี ปฏิบัติดี ปฏิบัติตามหน้าที่ที่ตนมีบางคนอาจมีหน้าที่หลายหน้าที่ในขณะเดียวกัน เช่น เป็นหน้าที่หัวหน้าครอบครัวในขณะอยู่บ้านต้องปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าครอบครัวในหน่วยงานหรือหน้าที่การงานที่รับผิดชอบ ก็ต้องปฏิบัติหน้าที่นั้นควบคู่กันไป
อีกหน้าที่หนึ่งอาจจะเป็นกรรมการหมู่บ้าน ชุมชน ก็มุ่งปฏิบัติหน้าที่ทุกด้านตามภาระงาน ความรับผิดชอบเยาวชนในครอบครัวก็ต้องปฏิบัติหน้าที่ในครอบครัวคือ เป็นลูกที่ดี เชื่อฟังคำสั่งสอนของบิดา มารดา ญาติผู้ใหญ่อีกด้านหนึ่งมีหน้าที่เป็นนักเรียน นักศึกษาก็ต้องมุ่งมั่น ขยันขันแข็งในการเรียน การพัฒนาตนเอง เป็นนักเรียกนักศึกษาที่ดีของโรงเรียนของสถาบัน การละเว้นความชั่วคือการไม่ปฏิบัติในสิ่งที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี เช่น ลุ่มหลงในอบายมุขทุกชนิด การไม่ประพฤติผิดศีลธรรม จรรยาบรรณ หากเป็นครูก็ไม่ปฏิบัติตนในทางเสื่อมเสีย ตั้งใจปฏิบัติตามหน้าที่อย่างเต็มเวลา เต็มความสามารถ การทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ก็คือการคิดดีคิดชอบ การปฏิบัติตามหลักธรรมทางศาสนา ถือว่าเป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมสูง แต่ในปัจจุบันที่กำลังประสบปัญหาในครอบครัว สังคมก็คือการขาดคุณธรรมจริยธรรม บุคลากรขาดคุณธรรมจริยาธรรมแล้วจะทำให้ตนเองมีปัญหาโยงใยไม่สู่ปัญหาครอบครัว สังคม ประเทศชาติและโลก ตามลำดับโดยเฉพาะในปัจจุบัน ปัญหาการขาดคุณธรรม จริยธรรมในหมู่เยาวชนของชาติกำลังทวีความรุนแรงขึ้นทุกขณะ เช่น การขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่ไม่ตั้งใจเรียน ไม่ปฏิบัติตามคำสอนของบิดา มารดา ครู อาจารย์ ปัญหาการมีเพศสัมพันธ์กันก่อนวัยอันควร การมีเพศสัมพันธ์กันแบบเปลี่ยนคู่กันไปตามความต้องการของตัณหา การนิยมมีกิ๊กกันของคนในยุคนี้ ถือเป็นเรื่องธรรมดาสังคมปัจจุบันยอมรับกันได้แต่ในสมัยก่อนถือว่าเป็นปัญหามาก เป็นการกระทำผิดศีลอย่างรุนแรงหากเป็นหญิงถือว่าเป็นความชั่วร้ายอย่างมหันต์ไม่สมควรที่จะให้อภัย บางครั้งสังคมถึงกับลงโทษไม่คบค้าสมาคม ถูกติฉันนินทาจนทำให้ต้องย้ายถิ่นที่อยู่ไปในที่ที่ไม่มีใครรู้จัก ในสมัยที่ผู้เขียนอายุประมาณ 27 ปี ประมาณปี พ.ศ.2525 ได้มีเพื่อนหญิงในหมู่บ้านที่จังหวัดนครราชสีมา คนหนึ่งที่สามารถไปทำงานที่ซาอุดีอาระเบียมีผู้ชายมาติดพัน ต่อมาคบกันฉันชู้สาว คนในหมู่บ้านมีปฏิกิริยามองในลักษณะเหยียดหยาม พูดจาตักเตือน ญาติพี่น้องด่าว่าอย่างเสียหาย ได้รับความกดดันมาก จึงได้พากันย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดที่ไม่มีใครรู้จัก แต่ในปัจจุบัน คนใดมีกิ๊กมีชู้สามารถคุยกันได้อย่างเปิดเผยเป็นที่ยอมรับกันได้ในสังคม เหตุการณ์หรือสถานการณ์อย่างนี้คือปัญหาสังคมอย่างหนึ่ง เนื่องมาจากผู้คนขาดคุณธรรมน่าจะใช้เวลาในการมั่วสุมเวลาที่กระทำตามกามตัณหา ราคะ มาปฏิบัติในสิ่งดี สิ่งที่เป็นคุณประโยชน์ปฏิบัติให้ถูกต้องตามจารีตประเพณี ปัญหา หากปล่อยไว้จะทวีความรุนแรงขึ้นผู้ที่มีฐานะเกี่ยวข้องกับเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา ควรมีการสกัดกั้นไม่ให้ลุกลามเป็นปัญหาสังคมที่ทวีความรุนแรงทุกขณะ ซึ่งเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรม (วัยรุ่นปล้น จี้ หาเงินไปเที่ยว ติดพนันบอล) ซึ่งผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องควรมีการปลูกฝัง ตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะเล็กๆ ในวัยเรียนเพื่อให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีจิตใจที่สมบูรณ์ คุณลักษณะที่ควรส่งเสริมในเด็กไทยคือ การปลูกฝังส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและจิตสำนึก มีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม ความละอายต่อความชั่ว ความละอายต่อบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ความกตัญญูรู้คุณ ความไม่เห็นแก่ตัว ความจริงใจ ความขยันหมั่นเพียร เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อื่น มีจิตสำนึกในความเป็นไทยซึ่งเรื่องนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรีได้กำหนดมาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอกระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดมาตรฐานด้านผู้เรียนมาตรฐานที่ 1 ว่าผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์โดยมีตัวบ่งชี้ผลสำเร็จดังนี้ 1.วินัย มีความรับผิดชอบ ปฏิบัติตนตามระเบียบและหลักธรรมเพื่อพัฒนาของแต่ละศาสนา 2.ซื่อสัตย์สุจริต 3.มีความเมตตากรุณาเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และเสียสละเพื่อส่วนรวม 4.ประหยัด ใช้สิ่งของและทรัพย์สินทั้งของตนเองและส่วนรวมตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและคุ้มค่า งนี้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเคราะห์ด้วยเมตตา แนะทางสวรรค์ให้คคี แสดงวัฒนธรรม
นอกจากการกำหนดให้มีการประเมินคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนเป็นสิ่งสำคัญเป็นประการสำคัญแล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานยังได้กำหนดให้มีการส่งเสริมและกำหนดนโยบายให้โรงเรียนในสังกัดได้จัดการเรียนการสอนโดยส่งเสริมคุณภาพขั้นพื้นฐาน 8 ประการ ได้แก่ มีน้ำใจ สุภาพ สะอาด ซื่อสัตย์ ประหยัด ขยัน สามัคคี มีวินัย จากประสบการณ์ในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยปัจจุบัน เป็นการเรียนรู้ในลักษณะบูรณาการด้วยวิธีการเรียนรู้ที่หลากหลายที่ผู้เสนอจะต้องวางแผนการจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนโดยครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยมีทั้งทักษะทางภาษา และทฤษฎีการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม
การปลูกฝังคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ ควรกระทำอย่างยิ่งในวัยการศึกษาขั้นพื้นฐานซึ่งคุณธรรมต่างๆที่ควรปลูกฝังมีดังนี้1)ขยันขยัน คือ ความตั้งใจเพียรพยายามทำหน้าที่การงานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ อดทน ความขยัน ต้องปฏิบัติควบคู่กับการใช้สติปัญญาแก้ปัญหาจนเกิดผลสำเร็จผู้ที่ความขยัน คือ ผู้ที่ตั้งใจทำอย่างจริงจังต่อเนื่องในเรื่องที่ถูกที่ควรเป็นคนสู้งาน มีความพยายาม ไม่ท้อถอยกล้าเผชิญอุปสรรครักงานที่ทำตั้งใจทำหน้าที่อย่างจริงจัง2)ประหยัดประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ3)ความซื่อสัตย์ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กลคดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อมรับรู้หน้าที่ของตนเองและปฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง4)มีวินัยมีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคมผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ5)สุภาพสุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาละเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรงวางอำนาจข่มผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย6)สะอาดสะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็นผู้ที่ความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัวจึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ7)สามัคคีสามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุ ผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์ ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วงแก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรมความคิด ความเชื่อพร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ8)มีน้ำใจมีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกันผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชนหากผู้สอนได้ตั้งใจพัฒนาคุณธรรมให้เกิดในจิตใจเด็กและเยาวชนแล้วปัญหาต่างๆ ในสังคมก็จะบรรเทาลงได้โดยเฉพาะในวัยเด็กควรเน้นการพัฒนาคุณภาพพื้นฐานให้เกิดขึ้นหรือซึมซับในจิตใจเสียก่อนอื่นๆ เพราะความรู้ต้องคู่คุณธรรมมีความรู้มากมายแต่ไร้คุณธรรมจะนำชีวิตสู่อบายมุข มีความลุ่มหลง งมงายประเทศชาติไม่พัฒนาขอจงยึดหลักคุณธรรมนำชีวิตมีความสุขหน้า 9

ไม่มีความคิดเห็น: