วันอาทิตย์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประมวลการสอนวิชาศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religions)

ประมวลการสอน
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี
สาขาวิชา สังคมศึกษา ภาคเรียนที่ ๒/๒๕๕๑
รหัสวิชา ๒๑๑๐๓๐๒ หน่วยกิต ๓ ( ๓-๐–๖)
ชื่อวิชา ศาสนาเปรียบเทียบ (Comparative Religions)
สถานภาพของวิชา £ บังคับ R เลือก
วิชาในหลักสูตร R ปริญญาตรี £ ป.บัณฑิต £ ปริญญาโท
จำนวนชั่วโมง / สัปดาห์
บรรยาย ๓ ชั่วโมง ปฏิบัติ - ชั่วโมง ค้นคว้า ๖ ชั่วโมง
ผู้สอน อ.ภูมิกิติ จารุธนนนท์ (โทร. ).E - mail : pans_2009@hotmail.com. ห้องพัก ๒/๒๐๑
บลีอกของอาจารย์ http://kit-meaninoflife.blogspot.com/
----------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
คำอธิบายรายวิชา
ศึกษาประวัติของศาสนาต่าง ๆ รวมทั้งศาสดา หลักคำสอน เป้าหมาย วิธีการ โดยการเปรียบเทียบศาสนาที่มีความนับถือมากในประเทศไทย โดยเฉพาะพระพุทธศาสนา ศาสนาอิสลาม คริสตศาสนา ศาสนาพราหมณ์ ศาสนาขงจื้อ เพื่อให้เข้าใจในศาสนาต่าง ๆ ในแง่ปรัชญาและอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข

วัตถุประสงค์ของรายวิชา
๑. มีความรู้ความเข้าใจในประวัติของศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์- ฮินดู และศาสนาขงจื้อ
๒. มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมคำสอน เป้าหมายสูงสุดของศาสนาต่าง ๆ ได้
๓. สามารถเปรียบเทียบศาสนาเหล่านั้นและสามารถวิพากษ์ วิเคราะห์ สังเคราะห์ เป็นแผนผังได้
๔. มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารตำราข้อมูลสารสนเทศ มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลและจัดทำรายงาน
๕. มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่มการสื่อสารภายในกลุ่มและการนำเสนอผลงานกลุ่ม รวมทั้งการอภิปรายในกลุ่ม
แผนการสอนและเค้าโครงรายวิชา
สัปดาห์
หัวข้อเรื่อง
กิจกรรม
สื่อการสอน
การวัดผล

การศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ
- วิธีการศึกษาแบบวิชาการ
- ความสำคัญของการศึกษาศาสนาเปรียบเทียบ
- การศึกษาศาสนาแบบปรัชญา
๑. ชี้แจงแผนการเรียนกาสอน
๒. ให้นักศึกษาเขียนอธิบาย
ความหมายของคำว่า “ศาสนา” แล้วสุ่มอ่าน ๑ – ๕ความหมาย
๓. อภิปรายร่วมกัน
๔. แบ่งกลุ่มนักศึกษามอบงาน
-power point
-แผนการสอน
- สังเกตและบันทึกผล
กาอภิปราย
๒ - ๕
ประวัติของศาสนาต่าง ๆ
- ศาสนาพุทธ
- ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู
- ศาสนาคริสต์
- ศาสนาอิสลาม
- ศาสนาขงจื้อ
๑. ชี้แจงการเรียนรู้ประวัติศาสนา
๒. แบ่งกลุ่มทำหน้าที่ในการตั้ง
คำถามการวิพากษ์ วิจารณ์
และเสนอแนะ
๓. นำเสนอผลงาน รายงาน
๔. อภิปรายร่วมกัน
๕. อาจารย์วิพากษ์และเสนอแนะ
-power point
-CD หรือ
VCD เกี่ยวกับประวัติศาสนา
ต่าง ๆ
- สังเกตและ
ประเมิน รายงานของ
แต่ละกลุ่ม

สัปดาห์
หัวข้อเรื่อง
กิจกรรม
สื่อการสอน
การวัดผล
๖ - ๘
หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาต่าง ๆ
- พุทธ
- พราหมณ์ – ฮินดู
- คริสต์
- อิสลาม
- ขงจื้อ
๑. ชี้แจงการเรียนรู้หลักธรรมที่สำคัญของศาสนาต่าง ๆ
๒. แบ่งกลุ่มทำหน้าที่ในการตั้งคำถามการวิพากษ์ วิจารณ์
และเสนอแนะ
๓. นำเสนอผลงาน รายงาน
๔. อภิปรายร่วมกัน
๕. อาจารย์วิพากษ์และเสนอแนะ
- power point
-แผนผังแสดงหลักธรรมที่สำคัญของศาสนา
- สังเกตและประเมินรายงานของ
แต่ละกลุ่ม
๙ - ๑๒
กำเนิดและประเภทของศาสดา คัมภีร์ และเป้าหมายสูงสุดของศาสนาต่าง ๆ
- พุทธ
- พราหมณ์ – ฮินดู
- คริสต์
- อิสลาม
- ขงจื้อ
๑. ชี้แจงการเรียนรู้กำเนิด ประเภทศาสดา คัมภีร์ และเป้าหมายสูงสุดของศาสนาต่าง ๆ
๒. แบ่งกลุ่มทำหน้าที่ในการตั้งคำถามการวิพากษ์ วิจารณ์
และเสนอแนะ
๓. นำเสนอผลงาน รายงาน
๔. อภิปรายร่วมกัน
๕. อาจารย์วิพากษ์และเสนอแนะ
-power point
-แผนผังแสดงประเภทศาสดา คัมภีร์และเป้าหมายสูงสุดของศาสนาต่าง ๆ
- สังเกตและ
ประเมินรายงานของแต่ละกลุ่ม
๑๓ -๑๔
ความสัมพันธ์ของศาสนาต่าง ๆ
- พิธีกรรม
- สัญลักษณ์ทางศาสนา
๑. ชี้แจงการเรียนรู้ความ สัมพันธ์ของศาสนาต่าง ๆ
๒. แบ่งกลุ่มทำหน้าที่ในการตั้งคำถามการวิพากษ์ วิจารณ์และเสนอแนะ
๓. นำเสนอผลงาน รายงาน
๔. อภิปรายร่วมกัน
๕. อาจารย์วิพากษ์และ
เสนอแนะ
-power point
-แผนผังแสดงความสัมพันธ์ประเพณี –พิธีกรรมของศาสนาต่าง ๆ
- สังเกตและประเมินรายงานของ แต่ละกลุ่ม
๑๕
สรุปบทเรียนทั้งหมด
๑. ผู้สอน – นักศึกษา
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน
-เอกสารคำสอน
- power point
- สังเกตและ
ประเมินจาก
อภิปราย
ร่วมกัน

การวัดผลและการประเมินผล
๑. คะแนนระหว่างภาคเรียน ๗๐ คะแนน
- การนำเสนอรายงานการศึกษาค้นคว้า ๑๕ คะแนน
- ทดสอบย่อย ๑๕ คะแนน
- สอบกลางภาค ๒๐ คะแนน
- จิตพิสัย ๑๐ คะแนน
๒. คะแนนสอบปลายภาค ๓๐ คะแนน
๓. เกณฑ์การประเมินผล
A : ๘๐ – ๑๐๐ B+ : ๗๕ – ๗๙ B : ๗๐-๗๔
C+ : ๖๕ – ๖๙ C : ๖๐ - ๖๔ D+ : ๕๕ - ๕๙
D : ๕๐ – ๕๔ E : ๐ – ๔๙
I (ร) : ส่งงานไม่ครบ X : ขาดสอบปลายภาค





รายชื่อตำรา เอกสาร วารสาร
๑.บังคับ
สุจิตรา รณรื่น, รองศาสตราจารย์. (๒๕๔๒). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ ๖. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ดวงแก้ว.
๒. หนังสืออ่านประกอบ
กีรติ บุญเจือ. (๒๕๓๒). ศาสนศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
วนิดา ขำเขียว, ผู้ช่วยศาสตราจารย์. (๒๕๔๑). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์เจนเตอร์เพรส.
สุชีพ ปุญญานุภาพ. (๒๕๑๖). ประวัติศาสตร์ศาสนา. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: เฟื่องอักษร.
เสฐียร พันธรังษี, ศาสตราจารย์พิเศษ. (๒๕๔๒). ศาสนาเปรียบเทียบ. พิมพ์ครั้งที่ ๘. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
เสฐียรโกเศศ. (๒๕๑๕). ศาสนาเปรียบเทียบ. กรุงเทพฯ: อมรการพิมพ์.
เสรี พงศ์พิศ. (๒๕๓๑). ศาสนาคริสต์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เสาวนีย์ จิตต์หมวด. (๒๕๓๕). วัฒนธรรมอิสลาม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ทางนำ.
ค้นคว้าจาก internet
http://kit-meaninoflife.blogspot.com/
www.kin-author.com/truth.htm
www.webdidi.com/Knowledge/religious%20&%20philosophy.htm
www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php
www.budpage.com/
www.nrru.ac.th/web/gen_educ/plan/real_life.html
www.arts.chula.ac.th/~philoso/philos/teachers.htm
เงื่อนไขของวิชา
๑. นักศึกษาต้องเข้าชั้นเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๘๐ ของเวลาเรียนจึงมีสิทธิ์สอบ
๒. การส่งงานต้องเป็นไปตามกำหนด
๓. นักศึกษาต้องตรงต่อเวลา กรณีที่มีสายเกิน ๑๕ นาที ให้ถือว่าขาดเรียนในชั่วโมงนั้น ๆ
๔. หากนักศึกษามีความจำเป็น ไม่สามารถเข้าเรียนได้ให้ส่งใบลาขอหยุดเรียนในแต่ล่ะชั่วโมง
๕. นักศึกษาต้องปิดสัญญาณการสื่อสารทุกชนิดในขณะที่เรียนเพื่อมิให้รบกวนผู้อื่น
๖. เมื่อนักศึกษาต้องการติดต่อกับอาจารย์ผู้สอนสามารถเขียนโน้ตวางไว้บนโต๊ะอาจารย์ที่ห้อง ๒/๒๐๑
หรือติดต่อทางโทรศัพท์ หรือทาง E-mail ตามที่แจ้งไว้ในประมวลการสอนได้



------------------------------------------------------

4 ความคิดเห็น:

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์แสดงความคิดเห็นใส่บล็อกแล้วมันไม่รู้ต้องคลิกอะไรต่อ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

อาจารย์วันพุธนี้หนูส่งไม่ทัน เนื่องจากหนูกับเพื่อนๆ ไม่มีอินเตอร์เน็ต

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

หนูยังไม่ได้สรุปเลยค่ะ

ไม่ระบุชื่อ กล่าวว่า...

สรุป
บ่อเกิดของศาสนาเปรียบเทียบนั้นมาจากสาเหตของธรรมชาติของความกลัว ความอยากรู้ของมนุษย์ เนื่องจากมนุษย์มีปัญหาอะไรจะเลือกวิธีการแก้ไขปัญหานั้นด้วยการเปรียบเทียบว่าสิ่งไหนดีควรจะทำนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติของมนุษย์
สาเหตุต่อมา คือ ความสัมพันธ์ใกล้ชิดของมนุษย์ มนุษย์ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมโดยมีการพบปะสังสรรค์กันเป็นเหตุให้เกิดวัฒนธรรม และความคิดเกิดขึ้น
สาเหตุที่ 3 เพราะผลจากการศึกษาภาษาเปรียบเทียบและปรัชญา เนื่องจากชาวตะวันตกได้ไปศึกษาภาษาสันสฤตแล้วได้เกิด ความเชื่อและความคิดที่มีอยู่ในตัวของภาษาสันสฤต ทำให้เกิดการเป็นวิชาศาสนาเปรียบเทียบ
สาเหตุที่ 4 การขยายขอบเขตของวิชาปรัชญา ศาสนามีเนื้อหาสาระที่เป็นวิชาปรัชญา ทำให้วิชาศาสนาขยายตัวมากขึ้นรวมทั้งวัฒนธรรมต่างๆ ก็เจริญงอกงาม ส่งผลให้เกิดวิชาการเปรียบเทียบ
สาเหตุที่ 5 ต้องการอธิบายวัฒนธรรมและคามคิด เนื่องจากต่างคนต่างเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม เมื่อมาอยู่ร่วมกันแล้วจะเกิดการเรียนรู้แล้วนำวัฒนธรรมนั้นมาประยุกต์ใช้ใหม่ให้เข้ากับสภาพสังคม
ประวัติของศาสนาเปรียบเทียบ
Max Muller เป็นผู้ศึกษาและสร้างวิชาศาสนาเปรียบเทียบ การเปรียบเทียบเป็นวิธีอย่างหนึ่งในการแสวงหาความรู้ การเปรียบเทียบที่เราถือว่าเป็นการเปรียบเทียบตามจุดประสงค์ คือ การเปรียบเทียบกันนอกขอบข่ายวัฒนธรรมของตนเอง การที่บุคคหนึ่งได้ศึกษาวัฒนธรรมที่แตกต่างหรือคล้ายคลึง แล้วนำมาบันทึกความคิดเห็น และความรู้สึกในเชิงเปรียบเทียบตามลักษณะของเขาเอง ถือได้เป็นการเปรียบศาสนา
ขอบข่ายของศาสนาเปรียบเทียบ
ศาสนาเปรียบเทียบเป็นการเปรียบเทียบความคิดที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็นศาสนธรรม ศาสนบุคคล ศาสนสถาน พิธีกรรม ตลอดจนวิถีดำเนินชีวิตของศาสนชน
เนื้อหาของศาสนาเปรียบเทียบ
จะศึกษาเกี่ยวกับ การคิดการไตร่ตรอง และการตรัสรู้ของศาสนา ศาสดาของศาสนา และวัฒนธรรมที่ถือปฏิบัติกันอยู่
วิธีการศึกษา จะใช้วิธีการสังเกตุความคล้ายคลึง และความแตกต่างเป็นหลักรวมทั้งการใช้ทัศนคติ ผู้ที่ศึกษาศาสนาเปรียบเทียบนั้นต้องพร้อมรับความจริงใหม่ๆ ที่ค้นพบโดยการเปรียบเทียบแล้ว รวมทั้งต้องมีความซื่อตรงต่อข้อสรุปที่ตนได้รับ ไม่ว่าจะเป็นแง่รับหรือปฏิเสธ หากผู้ศึกษาขาดทัศนคตินี้ การเปรียบเทียบน่าจะมีค่าเท่ากับการไม่เปรียบเทียบ เพราะยังมีทัศนคติเดิมอยู่ ไม่เปลี่ยนแปลงแต่อย่างไร และการศึกษานี้ต้องใช้ศิลปวิธี โดยมีการอ้างเหตุผล แสดงความคิดอย่างมีระบบ คิดในทางที่แสวงหาโลกทัศน์ที่เหมาะสม วิพากษ์และการคาดคะเน มีการตีความหมายใหม่ รวมทั้งการวิเคราะห์และสังเคราะห์ และใช้ภาษาของตน ถือเป็นศิลปวิธีทั้งหมดของปรัชญา